Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอใกล้คุณ
•
ติดตาม
2 ก.ค. เวลา 12:40 • สุขภาพ
เบาหวานมี่กี่แบบ ? แล้วต่างกันยังไงนะ ?
โดยทั่วไปแล้ว การจำแนกชนิดของโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) ตามมาตรฐานสากล จะแบ่งตามพยาธิกำเนิด (Pathogenesis) เป็นหลัก ปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ครับ
1. DM type 1
2. DM type 2
3. Gestational DM
4. Other specific type DM
★
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus )
เป็นชนิดที่พบได้ประมาณ 5-10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด มีกลไกหลักเกิดจาก กระบวนการแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune process) ที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน (Autoantibodies) มาทำลายเบต้าเซลล์ (β-cell) ในตับอ่อนอย่างจำเพาะเจาะจง
กลไกการเกิดโรค (Pathophysiology)
-- มีการสร้าง Autoantibodies ต่อโปรตีนบน β-cell เช่น Islet cell autoantibodies (ICA), Glutamic acid decarboxylase autoantibodies (GADA65), Insulin autoantibodies (IAA) และ Zinc transporter 8 autoantibodies (ZnT8A)
-- การทำลายนี้จะดำเนินไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมวลของ β-cell ลดลงอย่างมาก (โดยทั่วไป >80-90%) ทำให้ร่างกายขาดอินซูลินอย่างสมบูรณ์ (Absolute insulin deficiency)
-- ผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการเมื่อ β-cell ถูกทำลายไปมากแล้ว อาการมักเกิดขึ้นเร็วและรุนแรง เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมาก น้ำหนักลดฮวบฮาบ และอาจนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน (Diabetic Ketoacidosis - DKA) ได้ง่าย
ลักษณะทางคลินิก
-- มักวินิจฉัยในเด็กหรือผู้ใหญ่อายุน้อย (< 30 ปี) แต่ก็สามารถพบในทุกช่วงวัย
-- ผู้ป่วยมักมีรูปร่างผอม
-- จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยอินซูลินตั้งแต่แรกวินิจฉัยเพื่อการรอดชีวิต
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มย่อยที่เรียกว่า Idiopathic Type 1B ซึ่งมีภาวะขาดอินซูลินสมบูรณ์เช่นกัน แต่ตรวจไม่พบ Autoantibodies มักพบในคนเชื้อสายแอฟริกันและเอเชีย
★
Latent Autoimmune Diabetes in Adults (LADA)
เป็นภาวะที่น่าสนใจทางคลินิก บางครั้งเรียกว่า "Type 1.5 Diabetes" มีลักษณะเป็นลูกผสมระหว่าง T1DM และ T2DM แต่ถ้าเจาะจงถึงกลไกแล้วจะมีลักษณะไปทาง T1DM มากกว่า เพียงแต่มีลักษณะการดำเนินโรค ที่ค่อนข้างช้าและใช้เวลาหลายปีจนกว่า ระดับของเบต้าเซลล์จึงจะลดลงจนปรากฏอาการของเบาหวาน
ลักษณะ
-- ผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น T2DM ในช่วงแรก (อายุ > 30 ปี, ไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลินทันที)
-- แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบ Autoantibodies (โดยเฉพาะ GADA65) เช่นเดียวกับผู้ป่วย T1DM
-- การทำลาย β-cell จะเกิดขึ้นช้ากว่า T1DM แบบคลาสสิก แต่สุดท้ายผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะต้องการการรักษาด้วยอินซูลิน (Progression to insulin dependency)
-- การวินิจฉัยแยกโรคนี้ออกจาก T2DM มีความสำคัญในการพยากรณ์โรคและวางแผนการรักษาในระยะยาว
★
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus)
เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด (>85-90% ของผู้ป่วยเบาหวาน) มีกลไกที่ซับซ้อนและเป็นผลร่วมกันของหลายปัจจัย
กลไกการเกิดโรค (Pathophysiology)
เป็นความผิดปกติสองอย่างร่วมกัน (Dual defects)
-- ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance): เซลล์เป้าหมาย (ตับ, กล้ามเนื้อ, เซลล์ไขมัน) ตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ทำให้ตับสร้างกลูโคสเพิ่มขึ้น และกล้ามเนื้อนำกลูโคสไปใช้ได้น้อยลง
-- ความผิดปกติของการหลั่งอินซูลิน (Relative Insulin Deficiency): ในระยะแรก β-cell จะพยายามทำงานหนักขึ้นเพื่อหลั่งอินซูลินมาชดเชยภาวะดื้อ (Hyperinsulinemia) แต่เมื่อเวลาผ่านไป β-cell จะเริ่มเสื่อมสภาพ (β-cell dysfunction/failure) ทำให้ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอีกต่อไป
ลักษณะทางคลินิก
-- มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปี แต่ปัจจุบันพบในวัยรุ่นและคนอายุน้อยเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับภาวะอ้วน
-- ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ พันธุกรรม, ภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วน, การขาดการออกกำลังกาย
-- การดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาการในช่วงแรกอาจไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้รับการวินิจฉัย
-- ภาวะ DKA พบได้น้อยกว่าชนิดที่ 1 แต่อาจเกิดภาวะ Hyperosmolar Hyperglycemic State (HHS) ได้
แนวคิดใหม่ (Novel Concepts)
ปัจจุบันมีการเสนอการจำแนก T2DM เป็นกลุ่มย่อย (Subtypes) ตามลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยา เช่น กลุ่มที่เด่นเรื่องภาวะดื้ออินซูลินรุนแรง (Severe Insulin-Resistant Diabetes), กลุ่มที่เด่นเรื่องการขาดอินซูลิน (Severe Insulin-Deficient Diabetes) เพื่อนำไปสู่การรักษาแบบแม่นยำ (Precision Medicine) ในอนาคต
★
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus - GDM)
โรคเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 หรือ 3) โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อน
กลไกการเกิดโรค (Pathophysiology)
-- ในระหว่างการตั้งครรภ์ปกติ รกจะสร้างฮอร์โมนหลายชนิด (เช่น Human placental lactogen, Progesterone, Cortisol) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอินซูลิน ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินทางสรีรวิทยา
-- ในหญิงตั้งครรภ์ปกติ β-cell จะสามารถสร้างอินซูลินเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยได้
-- ในผู้ที่เป็น GDM นั้น β-cell ไม่สามารถสร้างอินซูลินชดเชยได้เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ความสำคัญ
-- หญิงที่เป็น GDM ส่วนใหญ่ระดับน้ำตาลจะกลับมาเป็นปกติหลังคลอด แต่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิด T2DM ในอนาคต
-- จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์
★
โรคเบาหวานชนิดพิเศษอื่นๆ (Other Specific Types of Diabetes)
เป็นกลุ่มโรคเบาหวานที่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่จำเพาะเจาะจง มีหลายกลุ่มย่อย ได้แก่:
●
Monogenic Diabetes Syndromes: เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยว (Single-gene mutation)
-- Maturity-Onset Diabetes of the Young (MODY):
เป็นกลุ่มโรคที่สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ ถ่ายทอดแบบ Autosomal dominant ดังนั้นจะพบว่ามีประวัติของบุคคลในครอบครัวที่เป็นเบาหวานตั้งแต่อายุยังน้อยหลายรุ่นและหลายคน ซึ่ง มีอย่างน้อย 14 ชนิดย่อย ต้องอาศัยการตรวจเฉพาะของ MODY genetic panel เพื่อทำการยืนยัน และวางแผนการรักษาต่อไป
●
โรคของตับอ่อนส่วนนอก (Diseases of the Exocrine Pancreas): เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, การผ่าตัดตับอ่อน (Pancreatectomy), มะเร็งตับอ่อน, Cystic Fibrosis, Hemochromatosis
●
โรคทางต่อมไร้ท่อ (Endocrinopathies): ภาวะที่ฮอร์โมนบางชนิดสูงผิดปกติและมีฤทธิ์ต้านอินซูลิน เช่น Cushing's syndrome (Cortisol สูง), Acromegaly (Growth hormone สูง), Pheochromocytoma (Catecholamines สูง), Glucagonoma
●
เบาหวานจากยาหรือสารเคมี (Drug- or Chemical-Induced Diabetes): เช่น Glucocorticoids, Thiazide diuretics, Atypical antipsychotics, Protease inhibitors
หากสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถ comment ไว้ได้นะครับ 😄
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
การแพทย์
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รวมความรู้เกียวกับเบาหวาน ( DM )
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย