28 เม.ย. 2021 เวลา 02:09 • สุขภาพ
ว่ากันว่า สมองนั้นสามารถหดตัวจากความเครียดได้!!! แต่ช้าก่อน!!! คุณมีพลังพอที่จะหยุดมันได้นะ!!!
ระวังนะระวัง!!!
“ความเครียด” เป็นความรู้สึกตึง หรือล้าทางใจ เป็นการเสียศูนย์ หรือความสมดุลทางใจที่เคยมี เนื่องจากการได้รับสิ่งเร้า จากปัจจัยทางกาย หรือใจ ไม่ว่าจะภายนอก หรือภายใน ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจริง ๆ หรือไม่ก็ตาม อาทิ อากาศร้อน-หนาว การถูกตำหนิต่อหน้าสาธารณชน หรือการได้รับสิ่งเร้า จากประสบการณ์อื่น ๆ ที่ไม่ชอบใจ
โดยทั่วไปแล้ว ความเครียดนั้นหมายถึงอารมณ์เชิงลบ ซึ่งบุคคลปกติพยายามจะหลีกเลี่ยง เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการปรับตัวทางสรีรภาพ ทางประชาน และทางพฤติกรรม
ถ้าตอนนี้คุณกำลังเครียดอยู่ บอกได้เลยว่าสุขภาพของคุณกำลังตกอยู่ในอันตราย ถึงขั้นที่สมองของคุณสามารถหดตัวได้เลยนะ ถ้าหากคุณเครียดอยู่เป็นประจำ
สำหรับบทความที่ผมจะนำมาแบ่งปันในวันนี้คือ “Your Brain Can Shrink From Stress, but You Have the Power to Stop It” ของ ‘Bright Side’ ซึ่งจะเจาะลึกถึงวิธีที่ความเครียดนั้นสามารถบดบี้สมองของคุณให้มีขนาดเล็กลงได้ หากปล่อยให้ความเครียดนั้นเข้าครอบงำ และนี่คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อควบคุมมัน ไปดูการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องพร้อม ๆ กันเลยครับ
ความเครียดคือมิตรแท้ และศัตรูถาวร
Stress is a friend and an enemy
เชื่อไหมว่าความเครียดนั้นไม่ได้เลวร้ายไปซะทั้งหมดนะ ตรงกันข้าม บางครั้งมันเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเราจริง ๆ เช่น เมื่อเราโฟกัสไปที่การแข่งขันใด ๆ ความเครียดนี่แหละที่จะมาพร้อมกับความมุ่งมั่น และตั้งใจ ส่งผลให้พลังงานในการเอาชนะของเรานั้นเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ และสุดท้ายสิ่งนี้ก็มักจะช่วยให้เราสมหวังซะด้วยสิ
แต่ในขณะเดียวกันถ้ามันมีมากเกินไป อาทิ แพ้ไม่เป็น ต้องการเอาชนะให้ได้ในทุกการแข่งขัน การเครียดอยู่เสมอ ก็อาจจะส่งผลให้ปวดหัว ความดันโลหิตสูง เจ็บหน้าอก นอนไม่หลับ และอีกสารพัดความเจ็บป่วยทางร่างกายที่จะพาเหรดกันตามมา
1
ความเครียดที่มากเกินไปอาจทำให้สมองของคุณเล็กลง
Too much stress can make your brain smaller
จากการศึกษาในปี 2018 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Neurology แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีระดับความเครียดสูงนั้นทำผลการทดสอบความจำได้แย่ลง และสมองของพวกเขาก็เล็กลงกว่ากลุ่มที่มีระดับความเครียดต่ำกว่า การหดตัวของสมองนี้ส่งผลกระทบต่อส่วนของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ และการเรียนรู้ ดังนั้นยิ่งคุณมีความเครียดเรื้อรังมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีความจำบกพร่อง และพบว่าการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นั้นทำได้ยากมากยิ่งขึ้น
ซึ่งผลกระทบประเภทนี้สามารถเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของภาวะสมองเสื่อม ราว ๆ 10 ถึง 20 ปี เลยทีเดียว
ต่อมา Dr. Sudha Seshadri หนึ่งในผู้ทำการศึกษากล่าวว่า นอกจากนี้ความเครียดยังอาจนำไปสู่ปัญหาทางจิตที่รุนแรง เช่น ภาวะซึมเศร้าได้ง่าย ๆ ด้วย
แต่คุณสามารถรักษาระดับความเครียดของคุณไว้ได้เช่นเดียวกัน But you can keep your stress level in check
ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ครับ
1. ขยับร่างกายอย่างสร้างสรรค์
Move your body
การออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำสามารถปรับปรุงการทำงานของหน่วยความจำ และรักษาสุขภาพสมองเมื่อเราอายุมากขึ้นได้ จากการศึกษาที่นำทีมโดยออสเตรเลียพบว่า สารเอ็นดอร์ฟินนั้นจะหลั่งเมื่อออกกำลังกายเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าสามารถให้ความรู้สึกเชิงบวกกับร่างกายเราได้อย่างแน่นอน
2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
Get enough sleep
ร่างกายจะได้รับการเยียวยา และฟื้นฟูเมื่อคุณหลับ ซึ่งหากคุณพลาดการหลับตาเป็นเวลาหลายชั่วโมง ความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เป็นเหตุให้เกิดความเครียดตามมานั่นเอง
3. พิจารณาในสิ่งที่คุณกิน
Watch what you eat
การกินอาหารที่ดีนั้นส่งผลต่ออารมณ์ และระดับความเครียดของคุณ ดังนั้นการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นประจำ ก็ช่วยลดความเครียดได้ดีมากเช่นกัน
4. อยู่ใกล้คนที่คุณรัก
Be around your loved ones
การมีระบบสนับสนุนที่ดีนั้นช่วยในการต่อสู้กับความเครียดได้ดีเสมอ การสังสรรค์กับเพื่อน และครอบครัวจะสร้างฮอร์โมน "รู้สึกดี" ที่เรียกว่าออกซิโทซินซึ่งสามารถลดความวิตกกังวลได้นั่นเอง
5. พักบ้างไรบ้าง
Take a break
ไม่ว่าจะเข้าชั้นเรียนโยคะ ทำสมาธิ เข้ารับบริการนวด พักผ่อนระยะสั้นเพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลาย หรือแม้แต่มีเวลาอยู่กับตัวเอง การใช้เวลาห่างจากความวุ่นวายในชีวิตประจำวันบ้าง นั้นจะช่วยให้คุณสบายใจได้อย่างที่ต้องการแน่นอน ลองดูได้ครับ
บางคนบอกว่าความเครียดไม่ใช่เรื่องน่าตำหนิ
Some say stress is not to blame
ถึงจะมาจากผลการวิจัยที่จริงจัง แต่ Dr. Sudha Seshadri เตือนว่าแม้ว่าจะมีความเชื่อมโยงระหว่างความเครียด และการหดตัวของสมอง แต่ก็อาจไม่ใช่กรณีที่ความเครียดทำให้สมองหดตัวเสมอไป การศึกษาใช้ระดับคอร์ติซอลในการวัดระดับความเครียด เนื่องจากสมองสร้างคอร์ติซอลเมื่อเราเครียด
“คอร์ติซอลอาจเกิดจากการอักเสบได้เช่นกัน” Bruce McEwen นักประสาทวิทยาจาก The Rockefeller University ในนิวยอร์กซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยกล่าวได้บอกไว้
ดังนั้นระดับคอร์ติซอลในการศึกษาอาจไม่ได้เกิดจากความเครียด 100%
แต่อย่างไรก็ตาม เราควรกันไว้ดีกว่าแก้นะครับ พยายามอย่าเครียดมาก เพราะแน่นอนว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาอีกหลายอย่าง
ด้วยความห่วงใยครับ
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกท่านควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ขอบคุณทุกคนครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณเจ้าของรูปภาพทุกท่าน
ขอบคุณที่มา
โฆษณา