28 มี.ค. 2022 เวลา 04:24 • การเมือง
สงครามรัสเซีย-ยูเครน จะจบลงอย่างไร? ตอน 6
Photo by Daniele Franchi on Unsplash
ตอนที่แล้ว ผู้เขียนคือ เอสเชอร์ เททรูแอชวิลี ที่เป็นอดีตนักการทูตสหรัฐ และกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านกฎหมายที่ศูนย์กฎหมายมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ คาดการณ์ลงรายละเอียดของฉากทัศน์ว่า หากปูตินยังคงครองอำนาจต่อโดยไม่ถูกล้มล้างไปก่อน จะเกิดอะไรต่อไปได้บ้าง
สำหรับในตอนจบนี้ จะมองต่อว่าปูตินจะเดินหมากต่ออย่างไรได้บ้าง นาโต้และสหภาพยุโรป รวมไปถึงสหรัฐจะเดินหมากต่อ เพื่อรับมือได้อย่างไรได้บ้าง โดยเฉพาะในกรณีที่ปูตินยังคงรุกคืบหาทางยึดครองชาติยุโรปอื่นๆ ที่เป็นหรือไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต้ต่อไปอีก
================
Photo by Ehimetalor Akhere Unuabona on Unsplash
หากปูตินเข้ายึดครองยูเครนได้สำเร็จ และใช้วิธีการบางอย่างทำให้เศรษฐกิจรัสเซียกลับสู่สมดุลได้อีกครั้ง
จากนั้นก็ตัดสินใจจะรุกต่อไปยังชาติที่ไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต้ชาติอื่นๆ อีก เช่น มอลโดวาหรือจอร์เจีย – ยุโรปจะตอบสนองเช่นใด?
จะไม่ส่งผลกระทบอะไรตามมาอีกสำหรับการลงมือของปูตินหรือ?
ไม่แน่นี่อาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะจะใช้ทบทวนมาตราต่างๆ ในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) และใช้ความพยายามแบบกึ่งการแทรกแซงด้วยกองกำลัง – คาบเกี่ยวกับมาตรา 5 หรือไม่ทำอะไรเลย – เช่น การจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพ หรือกองกำลังสังเกตการณ์ ตามแนวชายแดนประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกนาโต้
เราจำเป็นต้องทำให้นาโต้ยืดหยุ่นมากกว่าปัจจุบัน เพ่อที่จะสามารถตอบสนองต่อสงครามในรูปแบบใหม่ได้
หากมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองและผู้นำจริง ก็จำเป็นต้องเตรียมรับมือกับความโกลาหลอย่างไม่น่าเชื่อที่จะต้องตามมาอย่างแน่นอน
กลียุคที่เกิดกับเศรษฐกิจของประเทศใหญ่อันดับ 11 ของโลก และผู้นำในอนาคตของรัสเซีย ซึ่งน่าจะเป็นนักประชานิยมและเป็นคนแสดงออกว่ารักชาติมากกว่าที่เคยมีมา คงยากมากที่จะผนวกรวมเข้ากับระเบียบโลกที่เป็นอยู่ตอนนี้
เมื่อพวกชนชั้นนำของรัสเซีย ประชาสังคม และผู้คนกลุ่มต่างๆ ในภูมิภาคต่อสู้กันเพื่อบัลลังก์ เส้นทางการสื่อสารกับจีนและชาติอื่นๆ ในภูมิภาค จะเข้าสู่วิกฤตซึ่งจำเป็นต้องใช้ควบคุมความรุนแรง, ใช้ควบคุมอาชญากรรมไซเบอร์, และลดความเสี่ยงที่จะเกิดหายนะจากนิวเคลียร์
สำหรับการจัดการกับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่หนัก อาจจำเป็นต้องยกเลิกการคว่ำบาตร เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปถึงประชาชนรัสเซียทั่วไปได้
หากยังเชื่อว่าจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีได้ กล่าวคือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม รัสเซียกลายมาเป็นชาติประชาธิปไตยแบบเดียวกับตะวันตก การสนับสนุนประชาสังคมก็อาจมีส่วนช่วยได้
แต่มีความเป็นไปได้มากกว่าที่คนรัสเซียจะยังคงเลือกข้างชาตินิยม และผู้นำเผด็จการที่เข้มแข็ง ให้เป็นคนที่สร้างสมดุลในประเทศให้กลับมาอีกครั้ง
ชาติต่างๆ จำเป็นต้องสร้างสัมพันธ์กับผู้นำใหม่นี้ และในช่วงเวลาเดียวกัน กลไกของสหประชาชาติและพันธมิตรด้านความมั่นคงต่างๆ ก็ควรจะปฏิรูปให้ตอบสนองต่อความก้าวร้าวแบบไม่ยั่วยุและเป็นไปทางเดียว
ย้อนกลับไปปี 2014 เมื่อดิฉันเข้าร่วมในปฏิบัติการของสหรัฐต่อการค้นหาความจริงโดยนาโต้ ก็สังเกตเห็นว่าชาติตะวันตกไม่ต้องการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง เพื่อปกป้องประชาธิปไตยของยูเครน
ยูเครนจึงยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกนาโต้ และด้วยเหตุนี้เองจึงไม่อาจอุทธรณ์ให้ใช้กำลังทหารเข้าช่วยเหลือได้
เมื่อกองทหารของปูตินใช้การทำสงครามแบบลูกผสม ชาติตะวันตกจึงทำได้เพียงการกล่าวสุนทรพจน์และส่งความช่วยเหลือ แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่ปรารถนาจะทำมากกว่านั้น ในที่สุดแล้ว
นับจนถึงตอนนี้ ยูเครนได้แสดงให้เห็นว่า โลกตะวันตกต้องผูกพันและให้คุณค่ากับประชาธิปไตยและเสรีภาพให้มากที่สุด
ถึงวันนี้ ชาวยูเครน และความร่วมมือในการตอบสนองอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั้งโลก ทำให้ดิฉันเกิดความหวัง แต่เราจำเป็นต้องตระหนักให้ชัดในใจว่า เราจำเป็นต้องการสร้างโลกที่แข็งแรงกว่าเดิมให้ได้.
===========
ผู้เขียนคือ เอสเชอร์ เททรูแอชวิลี เป็นนักวิชาการด้านเทคโนโลยี และกำลังเรียนระดับปริญญาเอกทางด้านกฎหมายในศูนย์กฎหมายมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ เธอยังเป็นสมาชิกของสถาบันจอร์จทาวน์เพื่อเทคโนโลยี, กฎหมาย และนโยบาย ซึ่งศึกษาเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์และธรรมาภิบาลดิจิทัลของโลก ก่อนหน้านี้ เธอเคยทำหน้าที่เป็นนักการทูตในสถานทูตในเอเชียกลางและจีน และเคยได้รับเลือกเป็น Forbes 30 Under 30 ทางด้านกฎหมายและนโยบายในปี 2019 และเคยเป็น Thomas Pickering foreign affairs fellow และ Paul and Daisy Soros fellow ในปี 2012.
โฆษณา