24 มี.ค. 2023 เวลา 03:34

การบรรลุธรรมด้วยฌาน 1-4

หลังจากที่ได้เขียนบทธรรมฝ่ายเกิดทุกข์ คือปฏิจจสมุปบาทและขันธ์5 ไปแล้ว ก่อนที่จะไปถึงถึงถึงการย่อขันธ์5 จาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไปเพื่อดับทุกข์เป็นสติปัฏฐาน4 เหลือเพียง กายในกาย เวทนาในเวท จิตในจิต ธรรมในธรรม
2
ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น จะเขียนถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าใช้ดับทุกข์ก่อนตรัสรู้ เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน เพราะเมื่อไปถึงธรรมดับทุกข์ที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรม ก็จะต้องดับด้วยฌานนี้
เพื่อให้เห็นรายละเอียดในฌาน อันเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าก้าวล่วง พ้นจากความเป็นโพธิสัตว์สู่ความเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นเพื่อความรู้จริงแทงตลอดในธรรมของนี้อย่างครบถ้วน แล้วสามารถกระทำฌานเพื่อดับทุกข์ให้สิ้น เพื่อความหลุดพ้นออกจากวัฏสงสารนี้
ลำดับนี้จะเขียนเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าด้วยฌาน1-4 โดยได้อาศัยเอาจูฬทุกขักขันธสูตร ข้อ209 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่12 เป็นที่ตั้ง
เพื่อให้ทุกคนได้เห็นความสำคัญของธรรมนี้ เพราะการดับทุกข์ในบทธรรมฝ่ายดับทุกข์ที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรมทั้งหมดทั้งมวล จะต้องกระทำด้วยฌานนี้เท่านั้น ไม่มีวิธีอื่น
โดยเริ่มที่ จูฬทุกขักขันธสูตร ข้อ209 จะใช้วิธียกเนื้อความแห่งธรรมมาบางส่วนและบางส่วนจะใช้วิธีอธิบายสรุปเพื่อให้เห็นในธรรมนี้ได้ง่ายขึ้นดังนี้
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะทรงพระนามว่ามหานาม เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจข้อธรรมที่พระองค์ ทรงแสดงมานานแล้วอย่างนี้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ ต่างเป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ก็แหละเมื่อเป็นเช่นนั้น โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว ข้าพระองค์เกิดความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมชื่ออะไรเล่า ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้ โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรมหานาม ธรรมนั้นนั่นแล ท่านยังละไม่ได้ ด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้ โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของท่านไว้ได้เป็นครั้งคราว
ดูกรมหานาม ก็ธรรมนั้นจักเป็นอันท่านละได้เด็ดขาดในภายในแล้ว ท่านจะไม่พึงอยู่ครองเรือน ไม่พึงบริโภคกาม แต่เพราะท่านละธรรมเช่นนั้นยังไม่ได้เด็ดขาดในภายใน ฉะนั้นท่านจึงยังอยู่ครองเรือน ยังบริโภคกาม
ดูกรมหานาม ถ้าแม้ว่าอริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้
แต่อริยสาวกนั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน
แต่เมื่อใด เธอได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบอย่างนี้ว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งดังนี้
และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้
แล้วหลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสถึงพระองค์เองว่าดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้
และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามนี้มิได้ก่อน
แต่เมื่อใด เราเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงนี้ว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และกุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกามโดยแท้
จากเนื้อความแห่งธรรมในพระไตรปิฎก ข้อ209 ถึงข้อ211 ที่ได้ยกมานี้ เป็นข้อธรรมที่บ่งชี้ว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านได้ตรัสถึงสภาวะของพระองค์เองว่าดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้
และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามนี้มิได้ก่อน
แต่เมื่อใด เราเล็งเห็นโดยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงนี้ว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งดังนี้
และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และกุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกามนี้โดยแท้
จะชี้ให้ดูสภาวะถึงสภาวะ 2 สภาวะ
สภาวะที่1 พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ตัวเรานั้นเมื่อครั้งยังเป็นโพธิสัตว์ แต่ก่อนตรัสรู้ทีเดียว คือ ตอนนั้นท่านยังไม่ตรัสรู้ ท่านยังไม่บรรลุธรรม ยังไม่ถึงสภาวะ พุทธานัง ภิกขเว พุทธวิสโย ยังไม่รู้เหตุเกิดของกองทุกข์ที่แท้จริง ยังไม่รู้เหตุดับทุกข์ที่แท้จริง
แต่พระองค์ท่านเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง คือ สามารถที่จะรู้ที่จะเห็นแล้วว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งดังนี้ แต่เรายังเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติ
ชี้ให้เห็นว่าในตอนที่พระองค์ท่านยังเป็นโพธิสัตว์ท่านก็รู้แล้วว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งดังนี้
แต่พระองค์ท่านตอนเป็นโพธิสัตว์ ยังละกาม ละอกุศลธรรม หรือเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่เกลี้ยงไม่สิ้น ไม่บรรลุปีติ คือไม่ได้ดี ยังละไม่หมด ยังละไม่เกลี้ยงไม่สิ้น ก็คือ ไม่ได้ดี ไม่ได้ปีติ และสุขยังไม่เกิด
ความสุขจากการละกาม ละอกุศลธรรมเหล่านั้น ไม่ถึงที่สุด หรือกุศลธรรมอื่นที่ยิ่งไปกว่านั้น คำว่า ปีติและสุขนั้น คือปีติอันเกิดแต่วิเวก ซึ่งเป็นคุณธรรมหรือเป็นคุณสมบัติของฌานที่1 สภาวะที่1 นี่คือฌานที่1
แล้วหลังจากนั้นพระองค์ท่านก็บอกว่า หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบยิ่งขึ้นไปกว่านี้ กุศลธรรมข้อที่1 คือปีติอันเกิดแต่วิเวก คือ องค์ฌาน1 คือ คุณสมบัติของการกระทำฌาน1
กุศลธรรมองค์ฌานที่2 คือ นิรามิสัง สุขัง คือสุขเสมือนปราศจากอามีส จะสงบยิ่งขึ้นไปอีกกว่านี้
กุศลธรรมข้อที่3 คือ ผลจากการกระทำฌาน3 ก็คือเวทนาอันเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่ สุขก็ไม่ใช่ คืออทุขมสุขเวทนา ท่านยังทำกุศลธรรมที่สูงไปกว่านี้ยังไม่ได้
กุศลธรรมข้อที่4 คือ ผลจากการกระทำฌานข้อที่4 หรือฌาน4 คือ คือความเป็นผู้สงบ เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทนใดๆแล้ว
สันโตหมสมิ นิพพุโตหมสมิ อนุปาทาโนหมสามีติ ยังทำไม่ได้ตรงนี้ คือกุศลธรรมที่สูงขึ้นๆในระดับของฌาน
ฌาน1 คือ ปีติอันเกิดแต่วิเวก
ฌาน2 คือ สุขเสมือนปราศจากอามิส
ฌาน3 คือ เวทนาอันเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่สุขก็ไม่ใช่
ฌาน4 คือ ความเป็นผู้สงบ เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปปาทานใดๆแล้ว
นี่คือละสุข ละทุกข์ในคราวก่อนๆจนหมดจนสิ้น นี่คือสงบยิ่งๆขึ้นไปตามลำดับ ท่านยังทำไม่ได้ ตอนที่ท่านยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ท่านยังทำไม่ได้ คือ ท่านประกาศเลยว่า ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก คือฌาน1 ท่านก็ยังทำไมได้ตอนเป็นโพธิสัตว์
ความเป็นโพธิสัตว์ยังไม่บรรลุธรรม ยังไม่ถึงสภาวะ พุทธานัง ภิกขเว พุทธวิสโย ยังไม่ได้สภาวะอจินไตย4 คือยังไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ และเหตุของความดับทุกข์
เมื่อท่านยังไม่บรรลุธรรมท่านจึงยังไม่ได้สภาวะที่เป็น ฌายิสส ภิกขเว ฌานวิสโย
ดังที่ท่านประกาศว่าแม้เราจะเล็งเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งดังนี้
แต่เรายังเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติอันเกิดแต่วิเวก คือ ยังไม่ได้ฌาน1 ทำฌาน1 ยังไมได้
หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบยิ่งขึ้นไปกว่านี้ท่านก็ยังทำไม่ได้ ฌาน1 ไม่ได้ ฌาน2 ก็ย่อมไม่ได้ ฌาน3 และฌาน4 ก็ไม่ได้เช่นกัน
เราจะปฏิญาณตนว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามนี้ไม่ได้ก่อน เป็นโพธิสัตว์ยังทำฌานไม่ได้ ยังไม่บรรลุธรรม
ดังนั้นคำต่อมาที่พระองค์ท่านตรัสว่าแต่เมื่อใด เราเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งดังนี้
และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และกุศลธรรมอื่นที่สงบยิ่งขึ้นกว่านั้น เมื่อนั้นเราจึงปฏิญาณได้ว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามนี้โดยแท้
พอตอนหลังนี้ แต่เมื่อใดเราเล็งเห็นโดยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งดังนี้
และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติอันเกิดแต่วิเวก ตอนนี้พระองค์ท่านบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสส เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
สามารถบรรลุอจินไตย4
คือ พุทธานัง ภิกขเว พุทธวิสโย
ท่านรู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ และรู้เหตุดับทุกข์แล้ว
ท่านจึงบรรลุฌาน ฌายิสส ภิกขเว ฌานวิสโย ท่านทำฌานได้ถูกต้องแล้วตอนนี้
ตอนนี้ท่านละกามละอกุศลธรรมหรือเว้นจากกามเว้นจากอกุศลธรรมจนสิ้น จนหมด จนเกลี้ยง จนบรรลุฌานที่1 คือ ปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ละจนสิ้น จนได้ปีติอันเกิดแต่วิเวก ถ้าละไม่สิ้นถ้าละไม่เกลี้ยง จะไม่ได้ปีติอันเกิดแต่วิเวกนี้โดยเด็ดขาด
และกุศลธรรมอันสงบยิ่งขึ้นไปกว่าเมื่อได้ฌาน1 ผลจากการกระทำฌาน2 จะได้นิรามิสัง สุขัง คือสุขเสมือนปราศจากอามีส
ผลจากการกระทำฌานที่3 จะได้เวทนาอันเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่สุขก็ไม่ใช่ คือมีจิตเป็นอุเบกขาอยู่
ผลจากการกระทำฌาน4 คือ สันโตหมสมิ นิพพุโตหมสมิ อนุปาทาโนหมสามีติ ความเป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปปาทานใดๆแล้ว
คือเป็นผู้ละสุขละทุกข์ ละโสมนัสโทมนัสในกาลก่อนๆทั้งหมด นี่คือความสงบขึ้นๆไปตามลำดับจากการกระทำฌาน
พระพุทธเจ้ากระทำได้ตอนที่เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า คือบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสสแล้ว
บุคคลที่บรรลุธรรมแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถกระทำอจิตไตยข้อที่2 คือ ทำฌานได้
บุคคลผู้นี้เมื่อกระทำฌานตามลำดับ
คือได้ ฌาน1 ปฐมฌาน
ฌาน2 ทุติยฌาน
ฌาน3 ตติยฌาน
ฌาน4 จตุตถฌาน ไปตามลำดับ
ได้ อากาสานัญจายตนญาณ
วิญญาณัญจายตนญาณ
อากิญจัญญายตนญาณ
เนวสัญญานาสัญญายตนญาณ
ไปตามลำดับจนถึงสภาวะที่เกลี้ยงสิ้นแล้วคือสัญญาเวทยิตนิโรธ
บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดผู้นี้เป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว เป็นผู้ถึงฐานะ พุทธานัง ภิกเว พุทธวิสโย
บุคคลผู้นี้จึงจะได้ ฌายีสส ภิกขเว ฌานวิสโย จึงจะกระทำฌานได้
บุคคลผู้นี้จึงจะได้ผลแห่งกรรมวิปาโก คือรู้กรรม รู้ผลแห่งกรรม รู้การกระทำกรรมให้สิ้น
บุคคลผู้นี้จึงเป็นผู้ที่โลกจินตา รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง โลกเก่าเป็นดังนี้ เป็นนรก เป็นเดรฉาน เป็นเปรต เป็นมนุษย์ เป็นเทวดาเป็นดังนี้ โลกใหม่คือโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี หรือ อรหัตผล หรือนิพพาน ปรินิพพานไปตามลำดับ
บุคคลผู้นี้เป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว ได้อานิสงส์จากการฟังเนืองๆ จำติดปาก จำขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิมาก่อน ได้อานิสงส์ 4 ประการ จากการฟังธรรม
คือ ระลึกธรรมได้เอง
ฟังอรหัตสาวกแสดงธรรมแล้วรู้ตาม
ฟังเทวบุตรแสดงธรรมแล้วรู้ตาม
ฟังผู้รู้ก่อนมาบอกให้ฟังแล้วรู้ธรรมตาม
นี่คืออานิสงส์ 4 ประการ
บุคคลผู้นี้ก็จะได้รับอจินไตย4 ดังที่ได้ชี้ให้เห็นก่อนหน้าก็คือ
พุทธวิสโย ฌานวิสโย กรรมวิปาโก โลกจินตา ไปตามลำดับ
ชี้ให้ได้เห็นว่า ฌาน คือธรรมอันเป็นเหตุให้ พระพุทธเจ้าได้ก้าวล่วงความเป็นโพธิสัตว์ สู่ความเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างบริบูรณ์
ดังที่พระองค์ท่านได้ประกาศเอาไว้ ในจูฬทุกขักขันธสูตรนี้เองว่าดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งดังนี้
และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน
แต่เมื่อใด เราเล็งเห็นโดยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่ากามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งดังนี้
และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และกุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามนี้โดยแท้
สภาวะความเป็นโพธิสัตว์ ได้ถูกก้าวล่วง เข้าสู่ความเป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างบริบูรณ์เพราะพระพุทธเจ้า ได้บรรลุธรรมแล้วอย่างบริบูรณ์
ท่านจึงมีฐานะที่เป็น พุทธานัง ภิกขเว พุทธวิสโย
มีฐานะเป็น ฌานวิสโย
มีฐานะได้กรรมวิปาโก
มีฐานะรู้เจ่มแจ้งถึงโลกจินตา
เคยพูด PODCAST เรื่องนี้ไว้แล้ว ในหัวข้อฌาน คือ เหตุการกัาวล่วงโพธิสัตว์ สู่พุทธะ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญในธรรมที่ชื่อว่าฌาน จึงได้ยกเรื่องนี้มาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการกระทำฌาน
โดยย้ำอีกครั้งว่าการกระทำฌานไม่ใช่การนั่งฌาน
เมื่อได้ฌาน1-4แล้วก็จะเป็นผู้ สันโตหมสมิ นิพพุโตหมสมิ อนุปาทาโนหมสามีติ คือ ความเป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปปาทานใดๆแล้ว
โดยเราจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ท่านไม่ได้ตัดจบที่ฌานที่4 ท่านแสดงต่อไปอีก สู่อากาสานัญจายตนญาณ วิญญาณัญจายตนญาณ อากิญจัญญายตนญาณ เนวสัญญานาสัญญายตนญาณ ไปตามลำดับ จนถึงสภาวะที่เกลี้ยงสิ้นแล้ว คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสภาวะนิพพานปรินิพพาน
ในเรื่องของฌาน จะเห็นอยู่ในหลายๆพระสูตร โดยเฉพาะในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่14 จะมีการอธิบายถึงการกระทำฌานอยู่มาก
ที่ชัดมากที่สุดคือ อนุปทสูตร ที่พระพุทธเจ้าอธิบายการกระทำฌานของท่านพระสารีบุตร ให้เหล่าภิกษุสาวกของพระองค์ท่านได้รับฟัง โดยฌานนี้เป็นธรรมที่ท่านสารีบุตรรู้ตามพระพุทธเจ้า
ตรงนั้นเราจะเห็นการอธิบายการกระทำฌานอย่างละเอียด และเราจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้อธิบายจบอยู่ที่ฌานที่4
พระองค์ท่านอธิบายว่าเมื่อกระทำถึงฌาน4 จบแล้ว แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่าผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกให้มากนั้นก็มีอยู่
คือมาฌานหรือญาณ5 ญาณ6 ญาณ7 ญาณ8 จนเกลี้ยงจนสิ้น ที่สุดจึงเข้าไปสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ
นี่คือธรรมที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสส เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างบริบูรณ์
อ้างอิง
จูฬทุกขักขันธสูตร ข้อ209เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่12

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา