24 มิ.ย. 2023 เวลา 13:00

การนั่งสมาธิ เกิดขึ้นเพราะการเห็นผิดใน อานาปนสติสูตรดังนี้

ลำดับต่อไปนี้จะแสดงธรรมในข้อธรรมที่ว่า การนั่งสมาธิเกิดจากการเห็นผิดในอานาปานสติสูตร ข้อ 282 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14 ของคนในยุคหลังพุทธกาลนี้เหตุที่ต้องแสดงธรรมในข้อธรรมที่ว่า การนั่งสมาธิเกิดจากการเห็นผิดในอาณาปานสติสูตรข้อ 282 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่นที่ 14 ของคนในยุคหลังพุทธกาลนี้
มีข้อบ่งชี้ดังนี้
1 มีการนั่งสมาธิ
2 มีการทำอานาปานสติ
นั่นชี้ให้เห็นว่า การนั่งสมาธิ ก็คือการทำอานาปานสติ
หรือการทำอานาปานสติ ก็คือการนั่งสมาธิ
นี่คือข้อบ่งชี้ว่า การนั่งสมาธินี้ เกิดจากการเห็นผิดในอานาปานสติสูตรนี้ ทั้งๆที่อานาปานสติสูตร ข้อ 282 นี้ พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่านี่คือการนั่งสมาธิ แต่นี่คือการทำอานาปานสติ ซึ่งในอานาปานสติของพระองค์ท่านนั้นคือการปฏิบัติโพธิปักขิยธรรม
โดยดั่งที่ได้บอกให้รับทราบมาโดยลำดับแล้วว่า พระพุทธเจ้าได้ประกาศธรรมของพระองค์ เอาไว้ให้กับบรรดาพระภิกษุสงฆ์สาวกของพระองค์ท่านได้รับฟังว่า
มยา ธัมมา อภิญญา เทสิตา เสยยถีทัง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่เราแสดงด้วยความรู้อันยิ่ง อันประกอบไปด้วย
1 สติปัฏฐาน 4
2 สัมมัปปธาน 4
3 อิทธิบาท 4
4 อินทรีย์ 5
5 พละ 5
6 โพชฌงค์ 7
7 มรรคมีองค์ 8
1
นี่คือทำที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรม ซึ่งเป็นธรรมเดียวที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศเอาไว้ สำหรับเป็นธรรมดับทุกข์ ไม่มีคำว่า การนั่งสมาธิ และในพระสูตรที่ชื่อว่า อานาปานสติสูตรนี้ ก็เป็นพระสูตรที่แสดงโพธิปักขิยธรรมนี้
โพธิปักขิยธรรม คือพระสูตรที่แสดงไว้โดยย่อในอานาปานสติสูตรนี้
ส่วนรายละเอียดจริงๆ อยู่ในพระสูตรที่ชื่อว่ามหาสติปัฏฐานสูตร
ตอนนี้ได้นำพระสูตรนี้มาแสดงให้ได้เห็นว่า เบื้องต้นคืออย่างไร
แต่แสดงตัวนี้ก็คงจะยังเป็นการแสดงโดยย่ออยู่ คือดังนี้ มหาสติปัฏฐานสูตรข้อ 273 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 10 ประกาศเอาไว้ว่า
เอกายโน อยัง ภิกขเว มัคโค
หนทางนี้แลเป็นทางไปอันเอก
สัตตานัง วิสุทธิยา
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
โสกปริเทวานัง สมติกกมาย
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
ทุกขโทมนัสสานัง อัตถังคมาย
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
ญายัสส อธิคมาย
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
นิพพานัสส สัจฉิกิริยาย
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางอันนี้แล คือ สติปัฏฐาน 4
 
สติปัฏฐาน 4 ประการ คือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1 พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ 1
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1
นี่คือข้อสรุปหลักของมหาสติปัฏฐานสูตร
แล้วหลังจากนั้นน่ะจะให้ดูข้อเบื้องต้น ที่ท่านแสดงเอาไว้ ดูนะแล้วจะได้เทียบกัน ระหว่างพระสูตรหลักในการแสดงโพธิปักขิยธรรมนี้ พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า
อิธ ภิกขเว ภิกขุ อรัญญคโต วา รุกขมูลคโต วา สุญญาคารคโต วา
นิสีทติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปณิธาย ปริมุขัง สติง อุปัฏฐเปตวา
ดูตรงนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี สู่โคนไม้ก็ดี สู่เรือนว่างก็ดี เธอนั่งคู่บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก เธอมีสติหายใจเข้า แล้วหลังจากนั้นก็พูดเรื่องของการมีสติรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ด้วยการกระทำความดับทุกข์ โดยอาศัยโพธิปักขิยธรรมไปตามลำดับ
ให้ดูตรงขึ้นต้นนะว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี สู่โคนไม้ก็ดี สู่เรือนว่างก็ดี เธอนั่งคู่บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก เธอมีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว จะเอาเมื่อหายใจเข้ายาวอะไรต่อไปเนี่ย
จะให้ดูเทียบกันกับอานาปานสติสูตร พอหลังจากนั้นพระพุทธเจ้าได้แสดงอานาปานสติสูตรนี้ให้กับสาวกของพระองค์ท่านได้รับฟัง พระองค์แสดงเอาไว้ว่า อานาปานสติสมาธิเอกธัมโม ภาวิโต พหุลีกโต จัตตาโร สติปัฏฐาเน ปริปูเรนติ ฯ
จัตตาโร สติปัฏฐานา ภาวิตา พหุลีกตา สัตต โพชฌังเค ปริปูเรนติ ฯ
สัตต โพชฌังคา ภาวิตา พหุลีกตา วิชชาวิมุตติง ปริปูเรนติ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
บำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
แล้วหลังจากนั้น มาดูที่ให้ตั้งข้อสังเกตเมื่อสักครู่จะขึ้นต้นว่า
อิธ ภิกขเว ภิกขุ อรัญญคโต วา รุกขมูลคโต วา สุญญาคารคโต วา
นิสีทติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปณิธาย ปริมุขัง สติง อุปัฏฐเปตวา
ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี เธอนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
แล้วหลังจากนั้นก็แสดงถึงการมีสติรู้ลมหายใจ ออก เข้า ยาว ไปตามลำดับ เหมือนกันกับมหาสติปัฏฐานสูตรทุกประการ ลำดับต่อจากนี้เหมือนกันหมดเลย เพราะนี่คือพระสูตรโดยย่อ โดยย่อของมหาสติปัฏฐานสูตร แต่หมู่ชาวพุทธ ไม่ได้ใส่ใจในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ ไม่ได้ใส่ใจว่าข้อความแห่งธรรมนี้เหมือนกัน เหมือนกันทั้งๆที่ในมหาสติปัฏฐานสูตร คือต้นพระสูตร ต้นเรื่องเป็นรายละเอียด
แต่กลับมาใส่ใจที่อานาปานสติสูตรนี้ เพราะว่าคำว่า อานาปานสตินั้นแปลว่า มีความหมายว่ามีสติในการกำหนดรู้ลมหายใจออกลมหายใจเข้า หมู่ชาวพุทธก็เลยปักใจว่า นี่คือการแสดงการนั่งสมาธิ โดยการตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า แล้วก็เฝ้าดูลมหายใจออกลมหายใจเข้า ไปจนกว่าจะสงบ
เมื่อตนเองเลือกเวลาในการนั่งสมาธิได้แล้ว เลือกเวลา เลือกสถานที่ แล้วก็มานั่งนิ่ง ปิดทวารทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้สนิท มีสติเฝ้าดูลมหายใจเข้าลมหายใจออก ทำจนแก่กำลังของตนจนกว่าจะสงบ สงบหรือไม่สงบไม่รับทราบ แต่ทำอยู่อย่างนั้นแหละ และที่สุดก็สิ้นสุดการปฏิบัติลง เมื่อสิ้นสุดแล้วก็รอเวลาที่จะทำการปฏิบัติใหม่
นี่คือลักษณะของการทำสมาธิ หรือการนั่งสมาธิของหมู่ชาวพุทธ โดยไม่เข้าใจว่าอานาปานสติสูตรนี้ คือพระสูตรที่พระพุทะเจ้าแสดงโดยย่อ ในโพธิปักขิยธรรมเอาไว้ ในข้อแรกนี้พระองค์ท่านบอกว่า เราจะเป็นผู้พิจารณาความดับสนิทของกิเลสอยู่ ตรงนี้นะ
โดยในเบื้องต้นนี้ให้พิจารณาเห็นกายในกาย เห็นไหม
เห็นกายในกาย ก็คือมหาสติปัฏฐานสูตร
ต่อมาพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ก็คือข้อธรรมในมหาสติปัฏฐานสูตร
ต่อมาให้พิจารณาเห็นจิตในจิต
ต่อมาให้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม นี่เป็นธรรมโดยย่อ
แต่ถ้าโดยรายละเอียดต้องไปดูที่มหาสติปัฏฐานสูตรนี้เท่านั้น ที่เอาเอามาให้ดู นั่นแสดงให้เห็นว่า การนั่งสมาธิเกิดจากหมู่ชาวพุทธเห็นผิดในอานาปานสติสูตรนี้ เพราะไม่รู้ว่าอานาปานสติสูตรนี้ เป็นบททำย่อของมหาสติปัฏฐานสูตร
เพื่อให้เห็นความละเอียดในเรื่องของธรรมขึ้นต้นของพระสูตรนี้ จะเอาพระสูตรที่ชื่อว่ากายคตาสติสูตร ข้อ 292 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14 เช่นเดียวกัน ต่อจากอานาปานสติสูตร
มาดูว่า พระพุทธเจ้าแสดงอานาปานสติสูตรเอาไว้อย่างไร จะให้ดูในข้อที่ 294 ต่อลงมาจาก 292 นะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายยคตาสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก จึงไม่อานิสงส์มากตรงนี้ขึ้นต้นเหมือนกัน
จะว่าบาลีให้ทราบ
อิธ ภิกขเว ภิกขุ อรัญญคโต วา รุกขมูลคโต วา สุญญาคารคโต วา นิสีทติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปณิธาย ปริมุขัง สติง อุปัฏฐเปตวา
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปอยู่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงมั่นสติไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก เธอมีสติหายใจเข้า แล้วก็ไล่เรื่องของความหายใจเข้าออกหายใจเข้าไปตามลำดับ
นี่ในกายอย่างกายคตาสติสูตร ขึ้นต้นเหมือนกันกับมหาสติปัฏฐานสูตร ขึ้นต้นเหมือนกันกับอานาปานสติสูตร แต่พระสูตรที่ชื่อว่ากายคตาสติสูตรนี้ เป็นพระสูตรที่ย่อสุด โดยพระพุทธเจ้าได้แสดงการกระทำฌานเอาไว้ในพระสูตรนี้ การกระทำฌานคือการสรุปจบในการปฏิบัติธรรมทั้งหมด เพราะในพระสูตรที่ชื่อว่ามหาสติปักฐานสูตร ก็เป็นการปฏิบัติโพธิปักขิยธรรมนั้น ด้วยการกระทำฌาน
ในกายคตาสติสูตร ข้อที่สรุปจบก็คือ ฌาน 1 สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วบรรลุ แล้วเข้าสู่ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร ปีติ สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ลำดับที่ 2 เข้าสู่ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายใน มีธรรมเป็นเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกวิจาร ไม่มีวิตกวิจาร การปฏิบัติในการดับทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลนั้น ทุกคนจึงจะต้องรู้ในการทำฌาน ในข้อที่ 3 ย่อมเข้าตติยฌาน ข้อที่ 4 ย่อมเข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆเสียได้ มีสติบริสุทธิ์อยู่
นี่คือบทธรรมย่อที่สุดของมหาสติปัฏฐานสูตรนะ
หรือบททำย่อที่สุดของโพธิปักขิยธรรม คือกายคตาสติสูตร
ดังนั้นจะเห็นในสามพระสูตรนี้ ทั้งมหาสติปัฏฐานสูตร อานาปานสติสูตร ที่ยกมานี้ เพื่อให้พวกเราได้เห็นในข้อธรรมนี้ไปโดยลำดับ จะได้ไม่กังวลว่าคืออะไร อานาปานสติสูตรนี้เป็นบทธรรมย่อของมหาสติปัฏฐานสูตร และก็ต่อไปในข้อที่ 292 เป็นกายคตาสติสูตร สามพระสูตรนี้ เป็นพระสูตรในการแสดงโพธิปักขิยธรรม เหมือนกันทุกประการ
โพธิปักขิธรรม ประกอบไปด้วยสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 นี่แหละ โดยในทุกพระสูตรจะต้องเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม ทั้งหมดทั้งมวลนั้น การดับทุกข์ทั้งมวลนั้นจะต้องดับด้วยการกระทำฌานเท่านั้น
เพราะฉะนั้นดังที่ได้แสดงให้ได้รับทราบในตอนนี้ เพื่อบอกให้ได้รู้ว่า การนั่งสมาธินั้น เกิดจากการเห็นผิดในอานาปานสติสูตรนี้ ของคนในยุคหลังพุทธกาลนี้ ที่ว่าดังนี้ก็เพราะว่า เราจะเห็นคำว่าการนั่งสมาธิบ้าง เราจะเห็นคำว่าการทำอานาปานสติบ้าง เพราะมายึดเอาที่การเฝ้าดูลมหายใจอย่างเดียว แต่ไม่ได้ดูรายละเอียดของโพธิปักขิยธรรมเลย
1
ไม่ได้ดูว่าสติปัฏฐาน 4 เป็นยังไง ไม่ได้ดูว่าสัมมัปปธาน 4 เป็นยังไง ไม่ได้ดูว่าอิทธิบาท 4 เป็นยังไง ไม่ได้ดูว่าอินทรีย์ 5 เป็นยังไง ไม่ได้ดูว่าพละ 5 เป็นยังไง ไม่ได้ดูว่าโพชฌงค์ 7 เป็นยังไง ไม่ได้ดูว่ามรรคมีองค์ 8 เป็นยังไง ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดนี้ ได้แสดงอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร ข้อย่อลงมานี้อยู่ในอานาปานสติสูตร และยอดสุดดังที่แสดงเมื่อสักครู่ อยู่ในกายคตาสติสูตร
เพราะฉะนั้นเราจะเห็นชัดๆเลยว่า การนั่งสมาธิซึ่งเกิดในยุคหลังพุทธกาลมานี้ เกิดจากการเห็นผิดในอานาปานสติสูตร ข้อ 282 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14 ของคนในยุคหลังพุทธกาลมานี้ล่ะ
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าถามท่านพระอานนท์แล้วว่า เธอยังจะเห็นภิกษุเราแม้เพียง 2 คน เห็นต่างกันในโพธิปักขิยธรรม หรือในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้หรือ หรือในอานาปานสติสูตรนี้หรือ หรือในกายคตาสติสูตรนี้หรืออานนท์
ท่านพระอานนท์ตอบในสมัยพุทธกาลว่า ไม่มีเลยพระเจ้าค่ะ
แต่ยุคนี้หมู่ชาวพุทธของพวกเราเห็นผิดในอานาปานสติสูตร เพราะหมู่ชาวพุทธไม่เห็นธรรมที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรม จึงไม่เห็นรายละเอียดแห่งธรรมที่แสดงเอาไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร จึงไม่เห็นรายละเอียดของโพธิปักขิยธรรมที่แสดงในมหาสติปัฏฐานตรงนี้
เมื่อไม่เห็นรายละเอียดในการแสดงธรรมตรงนี้ ก็มายึดเอาแค่นั่งเฝ้าดูลมหายใจ ดังเราจะปรากฏคำว่า อ่ะมานั่งสมาธิกัน มาทำสมาธิกันโดยการนั่งสมาธิ หรือมาทำอานาปานสติ หรือมานั่งสมาธิกัน ตรงนี้คือข้อบ่งชี้ว่า การนั่งสมาธินี้เกิดจากการเห็นผิดอานาปานสติสูตรนี่เอง
อ้างอิง
มหาสติปัฏฐานสูตร ข้อ 273 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 10
อานาปานสติสูตร ข้อ 282 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14
กายคตาสติสูตร ข้อ 292 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา