25 มิ.ย. 2023 เวลา 04:00

การนั่งสมาธิ เป็นการปฏิบัติตามธรรมที่กล่าวไว้ชั่วแล้ว จึงประสบกรรมมิใช่บุญเลย

ลำดับต่อไปนี้จะแสดงธรรมในข้อธรรมที่ว่า การนั่งสมาธิ เป็นการปฏิบัติตามธรรมที่กล่าวไว้ชั่วแล้ว คนทั้งหมดนั้นจึงประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก เหตุที่ต้องแสดงธรรมในข้อธรรมที่ว่า การนั่งสมาธิเป็นการปฏิบัติตามธรรมที่กล่าวไว้ชั่วแล้ว คนทั้งหมดนั้นจึงประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมากดังนี้นั้น
สืบเนื่องจากมีบุคคลหนึ่ง ได้ปรารภเหตุแห่งการปฏิบัติธรรมของตน โดยการนั่งสมาธิให้ได้ฟังว่า ตนนั้นก็เป็นผู้ที่ปฏิบัติการนั่งสมาธิ หรือกระทำการทำสมาธิอยู่ ตนได้ทราบชัดว่า ขณะที่ตนนั่งสมาธิ หรือกระทำการนั่งสมาธิอยู่นั้นน่ะ ตนได้เกิดความสงบเยือกเย็น เป็นสุขอย่างยิ่ง
แต่พอตนเองได้สิ้นสุดการนั่งสมาธิ หรือหยุดการนั่งสมาธิแล้ว กลับเห็นตนเองว่า ตนนั้นเป็นบุคคลผู้ที่มีความเกรี้ยวกราด ดุร้าย ขาดความเมตตา และความดุร้ายเกรี้ยวกราดขาดความเมตตานี้ กลับทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะระงับได้เลย
โดยเขาได้แสดงเหตุว่า วันหนึ่งขณะที่ตนนั่งสมาธิอยู่ เกิดความสงบเยือกเย็นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และการนั่งสมาธินั้นสิ้นสุดลง และหลังจากนั้นพอออกจากสมาธิ ออกจากห้องมา มาปรากฏภายนอกคือมีเพื่อนบ้าน บ้านใกล้ชิดติดกันได้สุมไฟเผาไม้เผาขยะ ควันไฟเต้นลอยมาที่บ้านของตน
เหตุการณ์นี้ ทำให้เขานั้นไม่ได้ยับยั้งความคิดใดๆของตนเองเลย กลับดุด่าว่ากล่าวเกรี้ยวกราดขาดความเมตตาต่อคนที่เป็นเพื่อนบ้านของตนแท้ๆ ที่สุมไฟไม่สามารถจะกำหนดทิศทางลมได้เลย ที่จะทำให้ลมพัดมาที่บ้านตนเองนั้น
ทำให้เขาได้เห็นว่า อาการของตนนี้ไม่ใช่ความเป็นสมาธิ ไม่ใช่บุคคลผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วเกิดความ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรืออยู่เป็นสุขเลยแต่อย่างใด เมื่อได้เห็นธรรมที่เข้านำมาแสดง จึงได้ทราบชัดว่า บุคคลคนนี้ก็เป็นบุคคลที่นั่งสมาธิ แล้วเกิดความทุกข์จากการนั่งสมาธิอยู่
ซึ่งก็มีบุคคลที่เข้ามาแสดงในทำนองนี้อยู่ก่อนแล้ว คนๆนี้ได้มาถามก่อนคนแรก แล้วได้แสดงเหตุแห่งการนั่งสมาธิของตนเอาไว้ว่า ตนนั้นเป็นคนที่ปฏิบัติการนั่งสมาธิด้วยความตั้งใจอย่างยิ่ง หวังใจที่จะได้สมาธิ หรือสัมมาสมาธิ ที่เกิดจากการนั่งสมาธินี้ โดยครูอาจารย์เขาก็บอกตามหลักทั่วๆไปว่า ให้เลือกเวลา เลือกสถานที่ เข้าไปตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เฝ้าดูลมหายใจ เมื่อปิดทวารทั้ง 6 ลงแล้ว
1
อาการเหล่านี้ แถมถูกกำชับให้บุคคลที่สองนี้บอกว่า ถ้าเกิดผัสสะในสิ่งใด ให้รีบทิ้งทันที ให้รีบสลัดทิ้งทันที ไม่ต้องคิดถึงเหตุ ถึงผล ถึงความเกิด เมื่อเห็นเหตุนั้นแล้ว ให้ละทิ้งทันที แล้วมาอยู่กับลมหายใจ เฝ้าดูลมหายใจเข้าลมหายใจออกอยู่อย่างเดียว บุคคลที่สองก็ตามนี้
แต่ผลกลับปรากฏว่า เมื่อปฏิบัติไป ปฏิบัติไป ปฏิบัติไป บุคคลคนนี้กล้าละทิ้งมารดาผู้ที่ให้กำเนิดตนเองมา บุคคลคนนี้กล้าละทิ้งบิดาผู้ที่ให้กำเนิดตนเองมา มีภรรยาก็เป็นเหมือนไม่ใช่ภรรยาแล้ว มีธิดากำลังน่ารักกลับถูกบิดาทอดทิ้ง เกรี้ยวกราดใส่ เหตุการณ์นี้เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ นี่เป็นเหตุการณ์บุคคลที่สอง
ลำดับต่อมาก็บุคคลที่สาม ได้แสดงการปฏิบัติในฐานะที่เป็นญาติธรรมของบุคคลที่สองนี้ บุคคลที่สามก็ได้แสดงเหตุแห่งตนที่ได้ปฏิบัติการนั่งสมาธิว่า ตนได้กระทำการนั่งสมาธิเหมือนคนทั่วๆไป โดยเฉพาะการเฝ้าดูลมหายใจ แล้วสลับทิ้งผัสสะต่างๆโดยทันที ไม่ต้องคิดถึงเหตุ ไม่ต้องคิดถึงผลใดๆ คุณบุคคลที่สามก็กระทำเช่นนั้น
เป็นเหตุให้สามีผู้เป็นที่รัก เวลาไปทำงาน เวลาจะกลับมาบ้าน เมื่อสิ้นสุดงานแล้ว สามีนั้นไม่อยากเข้าบ้าน หรือบางทีมาถึงแล้วก็รีบขับรถหนีไป เป็นเหตุการณ์ที่เกิดอยู่บ่อยๆ สำหรับบุตรชายคนเดียว บุคคลที่สามนี้สามารถที่จะลงไม้ลงเท้า ใช้คำว่าลงเท้าตามคำที่เขาบอกเลย แล้วเหตุการณ์นี้รุนแรงมากขึ้น พร้อมที่จะทำร้ายทำลายทุกคนได้ทันที เขาบอกว่า นี่คือผลจากการนั่งสมาธินั้น
ลำดับต่อมาเป็นบุคคลที่สี่ คนคนนี้เป็นญาติธรรมที่ติดต่อมาทางบุคคลที่สอง บุคคลคนนี้ก็ปฏิบัติการนั่งสมาธิเช่นเดียวกัน ด้วยอาการเดียวกัน อยู่กับลมหายใจแล้วรีบทิ้งผัสสะต่างๆทันที เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เข้ามาทั้งหมดนั้น ไม่ว่าจะเป็นสามี บุตรสาว ปู่ ย่า ตา ยาย ทุกคน ญาติๆทุกคนถูกบุคคลที่สี่นี้ทอดทิ้ง และอาการทอดทิ้งนั้นเป็นความเปรี้ยวกราดดุร้ายรุนแรงมากขึ้น
คำที่สามีของบุคคลที่สี่พูดให้กับบุคคลที่สี่นั้น เป็นคำที่หยาบไม่ขอพูดถึง แต่เป็นคำที่พูดหยาบถึงการปฏิบัติธรรมหรือการนั่งสมาธิของบุคคลที่สี่เอง ให้รับทราบว่าหยาบนั้นหยาบจนที่สุดนั่นแหละ ถ้าให้พูดอย่างนี้ นี่เป็นเหตุการณ์ที่ 4
เหตุการณ์ที่ 5 เกิดขึ้นกับบุคคลที่ห้า บุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่ปฏิบัติการนั่งสมาธิ โดยการเฝ้าดูลมหายใจเหมือนกัน และทั้งห้าคนนี้ ได้ทราบในภายหลังว่า เป็นบุคคลที่มาจากสำนักเดียวกัน สำนักที่ให้นั่งสมาธิเฝ้าดูลมหายใจอย่างเดียว ไม่ต้องคิดถึงเหตุถึงผลสิ่งใดกระทบสัมผัสให้ทิ้งทันที
และบุคคลเหล่านี้ก็อยู่ในอาการที่บ้านแตกสาแหรกขาด แต่พอได้ฟังธรรมนี้ ที่ได้แสดงธรรมอันเป็นอริยสัจ 4 ขององค์พระพุทธเจ้าให้ฟัง บุคคลเหล่านี้กลับมีครอบครัวที่เป็นสุขขึ้นทุกครอบครัว สี่คนหลัง ส่วนบุคคลแรกนั้นเพิ่งเข้ามาไม่นานนี้ ยังไม่ได้ฟังธรรมที่เป็นอริยสัจ 4 นี้ โดยตรง โดยรายละเอียด พอที่จะนำไปปฏิบัติได้ แต่เชื่อมั่นว่าบุคคลที่หนึ่งนี้ ก็ปรารถนาที่จะรู้ธรรมนี้เช่นเดียวกันนั่นแหละ เอาไว้ในโอกาสต่อๆไป เพื่อให้เป็นไปตามความราบลุ่มแห่งธรรมของพระพุทธเจ้า เราคงได้ช่วยกันไปตามลำดับ
เหตุที่ต้องยกบุคคลที่ปฏิบัติการนั่งสมาธิแล้ว เกิดผลที่เป็นผลชั่ว จากการปฏิบัติธรรมตามคำกล่าวที่ชั่ว นั่นก็ไม่ได้พูดเอาเอง ได้อาศัยข้อธรรมในพระพุทธเจ้า
จาก เอกธัมมาธิบาลี ในข้อที่ 195 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 20 พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า
ทุรักขาเต ภิกขเว ธัมมวินเย
โย จ สมาทเปติ ยัญจ สมาทเปติ
โย จ สมาทปิโต ตถัตตาย ปฏิปัชชติ
สัพเพ เต พหุห อปุญญัง
ปสวันติ ตัง กิสส เหตุ ทุรักขาตัตตา
ภิกขเว ธัมมัสสาติ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่ว 1
ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น 1
คนทั้งหมดนั้น ย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว ฯ
คำที่กล่าวไว้ชั่ว ในที่นี้ ได้แสดงให้ได้รับทราบมาโดยลำดับแล้วว่า ธรรมที่ชั่วนี้ประกาศชัดๆว่าการนั่งสมาธินี้ไม่มีในพุทธศาสนา การนั่งสมาธินี้เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นการกล่าวถูกคำสอนของพระพุทธเจ้าในคนยุคปัจจุบันนี้ เพราะการนั่งสมาธินี้ พระพุทธเจ้าไม่เคยแสดง พระพุทธเจ้าไม่เคยปฏิบัติ พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติ พระพุทธเจ้าไม่เคยประกาศ การนั่งสมาธิด้วยพระสูตรใดๆเลย
เมื่อไม่มีพระสูตรรองรับ ในการปฏิบัติอันเป็นเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด การนั่งสมาธิก็เลยไม่มีหลักสูตรปฏิบัติ หรือพระสูตรการแสดงผลอันเป็นเบื้องต้น อันเป็นเบื้องต้น ถามกลาง ที่สุดเลย ดังที่ได้แสดงมาโดยลำดับ
ผู้นั่งสมาธิจึงต่างคนต่างปฏิบัติ บางคนกล่าวพุทโธ บางคนกล่าวอะไรต่อมิอะไรตามเหตุตามปัจจัย บางคนยกไม้ยกมือ บางคนทำอากัปกิริยาที่เพื่อเป็นไปตามเหตุแห่งความเห็นของตนเอง และผู้ที่นั่งสมาธินี้ไม่สามารถบอกได้เลยว่านั่งอย่างไร จึงจะได้เห็นอริยสัจ 4 หรือเห็นอริยสัจ 4 แล้ว บอกไม่ได้
ผู้ที่นั่งสมาธินี้จึงไม่สามารถจะบอกได้ว่า เรานั่งเท่านี้เราได้ฌาน 1 เท่านี้เราได้ฌาน 2 นั่งเท่านี้เราได้ฌาน 3 นั่งเท่านี้เราได้ฌาน 4 บอกไม่ได้ และผู้ที่นั่งสมาธินี้ จึงบอกไม่ได้ว่าตนเองนั้นนั่งเท่าไรจึงได้โสดาบัน นั่งอย่างไรจึงได้สกทาคามี นั่งนานเท่าใดจึงเป็นพระอนาคามี และนั่งจนสิ้นสุดอย่างไรจึงได้อรหันต์ บอกไม่ได้เลย
เพราะทั้งหมดทั้งมวลนี้ การนั่งสมาธินี้ได้ชี้ชัดให้ได้รับทราบแล้วว่า ไม่มีในพุทธศาสนา หลายคนพยายามจะแย้งมา เช่นมีคนคนหนึ่ง พยายามจะบอกว่า สัมมาสมาธิมีในอริยมรรคมีองค์ 8 ที่ปรากฏอยู่ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ไม่เคยเถียงว่าสัมมาสมาธินั้นมี แต่การนั่งสมาธิ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ นี่เป็นการลำดับธรรมที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
เพราะฉะนั้น ชี้ให้ดูอีกคราวหนึ่งว่า ผู้ที่นั่งสมาธินั้นน่ะพระพุทธเจ้า ท่านได้แสดงถึงการปฏิบัติธรรม หรือการทำตบะเพื่อให้ถึงความสุข ของบุคคลในสมัยพุทธกาล แต่ไม่ได้เอ่ยว่านี่คือการนั่งสมาธิ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ใน ปัญจัตตยสูตร ข้อ 37 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14 ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่วิเวกนั้นของเธอย่อมดับไปได้ เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก เปรียบเหมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใด
บุคคลที่นั่งสมาธินี้ก็เช่นเดียวกัน เมื่อนั่งสมาธิเมื่อจะเข้าทำการนั่งสมาธิ เขาจะเลือกเวลา เลือกสถานที่เข้าไปนั่งนิ่งปิดทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ปิดทั้งหมดเลย แล้วก็เฝ้าดูลมหายใจอย่างเดียว รอเวลาที่ตนเองจะสงบโดยไม่รู้ว่าเบื้องต้นยังไง ท่ามกลางยังไง ที่สุดยังไง รอให้สงบเอง
และหลังจากนั้นก็จะสิ้นสุดการปฏิบัติ แล้วก็รอการปฏิบัติอีก ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งปฏิบัติเสร็จแล้วต่างคนต่างเห็นว่าในขณะที่ปฏิบัตินั้นก็ดูสงบอยู่ ดูสงบอยู่แต่พอออกมาจริงๆแล้วเหตุการณ์จะปรากฏเหมือนบุคคลที่หนึ่งบ้าง บุคคลที่สองบ้าง บุคคลที่สามบ้าง บุคคลที่สี่บ้าง บุคคลที่ห้าบ้าง
บุคคลเหล่านี้ล่ะ คือภาพที่ปรากฏว่าการนั่งสมาธินั้น เป็นการปฏิบัติตามธรรมที่ครูบาอาจารย์กล่าวไว้ชั่วแล้ว และบุคคลที่นั่งสมาธิทั้งหมดนี้ ได้เข้าไปนั่งสมาธิตามธรรมที่ครูอาจารย์กล่าวไว้ชั่ว เพราะฉะนั้นทั้งผู้ที่กล่าวทำเรื่องการนั่งสมาธิ และผู้ที่เข้าไปนั่งสมาธิตามธรรมนั้นน่ะ ทุกคนจะประสบแต่ความมิใช่บุญเป็นอันมาก
เบื้องต้นเธอเป็นมิจฉาทิฐิ กล่าวตู่พระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้า อันเป็นอันว่าเธอกล่าวตู่พระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่เคยแสดง ไม่เคยภาศิต ไม่เคยประกาศเรื่องการนั่งสมาธิเอาไว้ แต่เราบอกว่ามีการนั่งสมาธิ และถือปฏิบัติอยู่
ซึ่งขัดกับหลักธรรมใน อปริหานิยธรรม 7 พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า ภิกษุจะไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติเอาไว้แล้ว คือนั่งสมาธิไม่มี พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติ แต่พวกเราบัญญัติขึ้นใหม่ ภิกษุจะไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว พระพุทธเจ้าประกาศอริยสัจ 4 เอาไว้ แต่หมู่มวลชาวพุทธของพวกเรานี้ ไม่สามารถปฏิบัติตามอริยสัจ 4 ได้ จึงปฏิบัติการนั่งสมาธิอยู่ แต่เรียกเคียงว่าการนั่งสมาธินี้แหละคือการปฏิบัติอริยสัจ 4 ซึ่งจะขัดกันไม่ใช่
เพราะฉะนั้นคนที่ไม่สมาทานในธรรมที่พระพุทธเจ้าประการเอาไว้แล้ว แต่มาสมาทานประพฤติในธรรมที่ตนเองประกาศขึ้นใหม่คือการนั่งสมาธิ บุคคลเหล่านี้จึงประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
และธรรมที่เขากล่าวไว้นี้ เป็นธรรมที่สามารถข่มขี่ได้ มันไม่ใช่ มันไม่ถูก บุคคลข่มขี่ได้ เป็นธรรมที่มัวหมอง ทำแล้วไม่เกิดความสุขเหมือนบุคคลทั้งห้านี้ ไม่มีความสุขเลย เป็นคำที่ถูกติ เป็นคำที่กล่าวแล้วถูกตำหนิติติงได้ และสมณะพราหมณ์ผู้รู้ ผู้รู้จริงว่า การนั่งสมาธิไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า ก็สามารถที่จะคัดค้านได้ว่าบุคคลเหล่านี้ทำผิดต่อธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่
เขาจึงประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก คนที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้านี้ เธอได้ฟังธรรมที่ถูกต้องแล้ว เธอเป็นบุคคลผู้ที่ โย อัจจยัง อัจจยโต ทิสวา ยถาธัมมัง ปฏิกโรติ
อายตัง สังวรัง อาปัชชติ
บุคคลผู้ที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วแก้กลับคืนตามธรรม มาปฏิบัติตามธรรมที่ถูกต้อง บุคคลทั้งสี่คนจากคนที่สองไป ก็เป็นบุคคลผู้ที่พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นบุคคลผู้ที่มีความเจริญยิ่ง ในอริยะวินัยนี้
อ้างอิง
เอกธัมมาธิบาลี ในข้อที่ 195 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 20
ปัญจัตตยสูตร ข้อ 37 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา