25 มิ.ย. 2023 เวลา 13:30

การนั่งสมาธิ หรือแม้อานาปนสติ ก็ไม่ใช่ธรรมสำหรับดับทุกข์แต่อย่างใดเลย

ลำดับต่อไปนี้จะแสดงธรรมในข้อธรรมที่ว่า การนั่งสมาธิ หรือแม้อานาปานสติ ในอานาปานสติสูตรก็ไม่ใช่ข้อธรรมสำหรับดับทุกข์แต่อย่างใด เหตุที่ต้องแสดงธรรมในข้อธรรมที่ว่า การนั่งสมาธิหรือแม้อานาปานสติ ในอานาปานสติสูตร ก็ไม่ใช่ข้อธรรมสำหรับดับทุกข์แต่อย่างใดเลยดังนี้
เหตุเพราะว่า ในลำดับที่ผ่านมานั้นได้แสดงธรรมในพระพุทธเจ้า ให้ได้รับทราบมาโดยลำดับว่า การนั่งสมาธิไม่มีในพุทธศาสนา การนั่งสมาธินี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นการกล่าวตู่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ในคนยุคปัจจุบันนี้ นั่นเป็นเพราะว่า การนั่งสมาธินี้พระพุทธเจ้าไม่เคยแสดง พระพุทธเจ้าไม่เคยปฏิบัติ พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติ พระพุทธเจ้าไม่เคยประกาศ การนั่งสมาธิด้วยพระสูตรใดๆเลย
ดังนั้นการนั่งสมาธิจึงไม่มีพระสูตรในการปฏิบัติ หรือไม่มีพระสูตรแสดงผลจากการปฏิบัติเลย ว่าเบื้องต้นเป็นดังนี้ ท่ามกลางเป็นดังนี้ ที่สุดเป็นดังนี้ ไม่มีเลย
ดังนั้นเมื่อใครนั่งสมาธิแล้วก็จะไม่สามารถบอกได้ว่า นั่งอย่างไรจึงได้เห็นอริยสัจ 4 แล้วนั่งอย่างใดจึงได้ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 แล้ว และนั่งอย่างใดจึงได้ความเป็นโสดาบันแล้ว จึงได้ความเป็นสกทาคามีแล้ว จึงได้ความเป็นอนาคามีแล้ว และที่สุดนั่งอย่างใดจึงได้ความเป็นอรหันต์แล้ว ไม่มีเลย นั่นเป็นเพราะว่าการนั่งสมาธิไม่มีในพุทธศาสนาเลย
ดังนั้นเพื่อให้เห็นความรอบถ้วนในธรรมที่ว่า การนั่งสมาธินี้ไม่มีในพุทธศาสนาเลย แต่เป็นบัญญัติที่หมู่ชาวพุทธหลังพุทธกาลมานี้บัญญัติขึ้นใหม่ ดังนั้นเพื่อให้เห็นชัดถึงเรื่องเหล่านี้จึงแสดงธรรมในข้อธรรมที่ว่า การนั่งสมาธิหรือแม้ปานาปานสติ จากอานาปานสติสูตรนั้น ก็ไม่ใช่ข้อธรรมสำหรับดับทุกข์แต่อย่างใดเลย
เหตุเป็นเพราะว่า เมื่ออพระพุทธเจ้าได้ประกาศธรรมที่ชื่อว่าอริยสัจ 4 นี้แล้ว คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ได้แสดงให้ได้รับทราบมาโดยลำดับว่า ในอริยสัจ 4 นี้ มีทุกข์ มีสมุทัย มีนิโรธ มีมรรค ซึ่งมรรค 8 นี้คือข้อธรรมสำหรับปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ที่นิโรธนี้ แต่มรรคมีองค์ 8 นี้ไม่สามารถกระทำการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์เพียงลำพังได้ ดับทุกข์เพียงลำพังไม่สำเร็จ
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ประกาศธรรมให้แก่สาวกของพระองค์ท่านได้รับทราบ และถือปฏิบัติตาม ดังในพระสูตรที่ชื่อว่าสามคามสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14 พระองค์จะขึ้นต้นว่า
มยา ธัมมา อภิญญา เทสิตา เสยยถีทัง
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5
พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์8
นี่คือธรรมที่พระองค์ท่านได้แสดงธรรมด้วยความรู้อันยิ่ง มยา ธัมมา อภิญญา เทสิตา นี้ แสดงด้วยความรู้อันยิ่ง
หรือในพระสูตรที่ชื่อว่า ปาลิเลยยสูตร พระพุทธเจ้าได้แสดงเอาไว้ว่า มยา ธัมโม วิจยโส เทสิตา เสยยถีทัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมะเหล่าใดที่เราได้แสดงด้วยความเลือกเฟ้น อย่างยิ่ง ก็จะประกอบไปด้วย สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8
2
เราจะเจอคำสองคำ
คำหนึ่งบอกว่า มยา ธัมมา อภิญญา เทสิตา
คำหนึ่งบอกว่า มยา ธัมโม วิจยโส เทสิตา
เป็นเนื้อความแห่งธรรมเดียวกัน ธรรมแรกแสดงด้วยความรู้อันยิ่ง ธรรมที่สองบอกว่าเราได้แสดงด้วยการเลือกเฟ้น เราได้แสดงธรรมด้วยการเลือกเป็นอันยิ่ง เลือกเฟ้นคัดสรรให้อย่างยิ่ง ในข้อธรรมที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรม
จำแนกให้ดังนี้ เมื่อจำแนกแล้วเรามาดูว่า มีคำว่านั่งสมาธิในโพธิปักขิยธรรมไหม มีคำว่าอานาปานสติอยู่ในโพธิปักขิยธรรมไหม จะมีหรือไม่มีมาดูกัน
ธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศดังนี้ว่า มยา ธัมมา อภิญญา เทสิตา หรือ มยา ธัมโม วิจยโส เทสิตา คือ โพธิปักขิยธรรมอันประกอบไปด้วย
ธรรมที่ 1 คือสติปัฏฐาน 4 ประกอบไปด้วย
กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
ธรรมที่ 2 คือสัมมัปปธาน 4 ตัวนี้คือหลักของการกระทำฌาน ประกอบไปด้วยสังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน ยังไม่มีคำว่าการนั่งสมาธิกับอานาปานสตินะ
ธรรมที่ 3 คือ อิทธิบาท 4 ประกอบไปด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ไม่มีการนั่งสมาธิและอานาปานสติอยู่ ดูดีๆ
ธรรมที่ 4 คือ อินทรีย์ 5 ประกอบไปด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ไม่มีนั่งสมาธิกับไม่มีอานาปานสติอยู่
ธรรมที่ 5 คือ พละ 5 ประกอบไปด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็ไม่มีการนั่งสมาธิกับอานาปานสติอยู่ประกอบ
ธรรมที่ 6 คือ โพชฌงค์ 7 ประกอบไปด้วย สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่มีคำว่าการนั่งสมาธิ มีสมาธิจริงแต่ไม่ใช่การนั่งสมาธิ และไม่มีอานาปานสติอยู่
ธรรมที่ 7 คือ มรรคมีองค์ 8 ประกอบไปด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมามาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ไม่มีคำว่าการนั่งสมาธิ ไม่มีคำว่าอานาปานสติอยู่
1
นี่คือธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศเอาไว้ว่า
มยา ธัมมา อภิญญา เทสิตา เสยยถีทัง
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์8
1
และนี่คือธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศเอาไว้ว่า มยา ธัมโม วิจยโส เทสิตา เสยยถีทัง ธรรมะเหล่าใดที่เราเลือกเฟ้นด้วยความรู้อันยิ่ง ก็คือ โพธิปักขิยะธรรมนี้ อันประกอบไปด้วย สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8
1
ไล่เรียงจนหมด ไล่เรียงจนจบ ไม่มีคำว่าการนั่งสมาธิ และไม่มีคำว่าอานาปานสติเลย
ดังนั้นจึงได้แสดงธรรมนี้ให้ได้รัยทราบว่า คำว่าการนั่งสมาธิกับอานาปานสตินั้น ไม่ใช่ข้อธรรมสำหรับดับทุกข์ ยกของพระสูตรที่ชื่อว่ามหาสติปัฏฐานสูตรเบื้องต้น เอามาตั้งให้ดู พระสูตรที่ชื่อว่ามหาสติปัฏฐานสูตรนี้
คำว่าสติปัฏฐานนี้ แปลว่า มีความหมายว่า ความตั้งสติไว้ ความมีอารมณ์เป็นที่ตั้งสติไว้ เท่านั้น แต่ถ้าไม่ตามด้วยคำว่า 4 ฐานนะ หรือ 4 ประการ คือกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมแล้ว คือถ้าไม่พิจารณาเห็น กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมแล้ว จะเป็นเพียงสติปัฏฐานที่ว่างเปล่า จะต้องเป็นสติปัฏฐานในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมนี้อยู่
จึงจะถือว่าเป็นผู้ที่มีสติปัฏฐาน 4 ที่แท้จริง เพราะว่าเราพูดถึงสติปัฏฐานแล้ว มักจะจบลงแค่สติปัฏฐาน ไม่ต่อด้วย 4 ประการ จะต้องมีสติปัฏฐานใน 4 ประการนี้
คือ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ 1
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ 1
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ 1
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ 1
ในพระสูตรที่ชื่อว่ามหาสติปัฏฐานสูตรนี้ เป็นการแสดงธรรมที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรม อันเป็นธรรมสำหรับมากระทำในนิโรธ โดยรายละเอียดจะอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดอยู่ที่นี่ เป็นพระสูตรเบื้องต้น ใครดูพระสูตรนี้ไม่ออก คนนั้นทำผิดต่อธรรมของพระศาสดาแล้ว คือ ไม่รู้จริง ไม่แทงตลอดในธรรมนี้
นี้เป็นธรรมเอก เป็นธรรมหลัก เป็นธรรมอันเป็นรายละเอียด ของการแสดงโพธิปักขิยธรรม อันประกอบไปด้วย สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 อยู่ที่มหาสติปัฏฐานสูตรนี้
สำหรับพระสูตรต่อมา คือพระสูตรที่ชื่อว่าอานาปานสติสูตร หมายถึงว่าให้เธอมีสติเข้าไปตั้งมั่นใน 4 ประการนี้ทุกลมหายใจ ให้เธอมีสติเข้าไปตั้งมั่นใน 4 ประการนี้ คือ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จะเป็นธรรมเดียวกัน ให้เธอเข้าไปตั้งอยู่ตรงนี้ตั้งอยู่ในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมนี้ ทุกลมหายใจ
พระสูตรที่ชื่อว่าอานาปานสติสูตรนี้จึงเป็นพระสูตรแสดงโพธิปักขิยธรรมโดยย่อ ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นมีโดยย่อกับโดยวิตถารหรือพิสดาร พิสดารอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร โดยย่อลงมาอยู่ที่อานาปานสติสูตร ดังที่ได้แสดงให้ดูแล้ว
แต่อีกส่วนหนึ่ง ได้ชี้ให้ดูแล้วว่า ยังมีอีกพระสูตรหนึ่งชื่อว่ากายคตาสติสูตร อยู่ต่อจากอานาปานสติสุขนี้เอง เริ่มที่ข้อ 292 พระสูตรนี้ก็เป็นพระสูตรที่บอกว่า กายคตาสตินี้ เนื้อความเป็นธรรมก็แสดงธรรมโดยย่อของโพธิปักขิยธรรมอยู่ แต่ที่กายคตาสติสูตรแสดงให้เห็นเพียงการกระทำฌานเป็นหลัก
เราต้องดูคำว่ากายคตาสตินี้ คำว่ากายคตาสตินี้ จะต่อมาจากให้เธอมีสติในประการ 4 ประการนี้ ปัฏฐาน ปักมั่น หรือระลึก หรือมีอารมณ์อยู่ใน 4 ประการ คือ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จากมหาสติปัฏฐานสูตรนี้แล้ว เลยมาถึงอานาปานสติก็จะบอกว่า ให้เธอมีสติทุกลมหายใจตั้งอยู่ในสติปัฏฐาน 4 นี่คือกกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมนี้
และต่อมาถึงกายคตาสติสูตร ก็จะต่อว่าให้เธอมีสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ คือ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม นี้ทุกลมหายใจ(อานาปานสติสูตร) แล้วก็ทุกลมหายใจในขณะที่เธอมีองค์คาพยพแห่งกายนี้อยู่ หรือเธอมีชีวิตอยู่นี้ ให้เธอมีสติอยู่ในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมนี้
นี่คือธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศเอาไว้ แม้จะหาจนเหนื่อย หาจนเท่าไหร่เราก็จะไม่เจอคำว่าการนั่งสมาธิ และก็เราจะไม่เจอคำว่าอานาปานสติในโพธิปักขิยธรรมนี้เลย
แต่คำว่าสติปัฏฐาน 4 อานาปานสติ และกายคตาสตินั้น เป็นเพียงหลักๆ คือ มีสติตลอดเวลา มีสติทุกลมหายใจ มีสติทุกลมหายใจในขณะที่เธอมีชีวิตอยู่ แต่หลักที่พระพุทธเจ้าประกาศเอาไว้ คืออริยสัจ 4
ซึ่งอริยสัจ 4 นี้ เมื่อเห็นทุกข์แล้ว เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์แล้ว ให้ดับทุกข์เลย โดยนิโรธ แต่ข้อนิโรธนี้ จะต้องกระทำการดับด้วยมรรคมีองค์ 8 แต่มรรคมีองค์ 8 นี้ ไม่สามารถจะดับทุกข์ได้เพียงลำพัง
พระพุทธเจ้าจึงประกาศธรรมห้อมล้อม เป็นโพธิปักขิยธรรมขึ้น ที่ชื่อว่า สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 ห้อมล้อมกันปฏิบัติเพื่อกระทำความนิโรธ ในความทุกข์ที่มีนี้ จึงจะทำความดับทุกข์ได้
แต่หมู่ชาวพุทธเข้าไม่ถึงตรงนี้ รู้ไม่จริงในเรื่องนี้ ไม่แทงตลอดในเรื่องนี้ จึงเป็นเหตุให้เขาเหล่านั้น หรือเขาทั้งหลายในยุคหลังพุทธกาลมานี้ ได้บัญญัติการนั่งสมาธิขึ้นแทน เมื่อบัญญัติการนั่งสมาธิขึ้นแล้ว ก็จะมักจะพูดว่าเรามานั่งสมาธิกัน หรือเรามาทำอานาปานสติกัน หรือบางครั้งก็บอกว่ามาทำอานาปานสติกันโดยการนั่งสมาธินี้แหละ
ได้ชี้ให้ดูแล้วว่า คำว่าการนั่งสมาธิก็ไม่มีในโพธิปักขิยธรรม อานาปานสติก็ไม่มีในโพธิปักขิยธรรม เพราะฉะนั้นการนั่งสมาธิและอานาปานสตินี้ ไม่ใช่ข้อธรรมสำหรับดับทุกข์แต่อย่างใดเลย
อ้างอิง
สามคามสูตร ข้อ 54 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14
ปาลิเลยยสูตร ข้อ 173 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 17

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา