30 มี.ค. เวลา 05:41 • ท่องเที่ยว

2475 *เปิดสะพานพุทธฯ

▪️ไม่ต้องเป็นทหาร หรือนักเดินป่าตัวเข้ม ไม่มากก็น้อย หลายคนคงเคยเห็น หรือรู้จัก หรือมี เจ้ามีดพับชนิดพกพา สารพัดประโยชน์ แบบ Victorinox นี้กันบ้าง
🔸
▪️มีดพับสารพัดอุปกรณ์ ลักษณะนี้ มีมานานหลายร้อยปีแล้ว ในยุโรป แต่มานิยมแแพร่หลาย เมื่อถูกผลิตใช้งาน ในกองทัพ
🔸
▪️หลายวันก่อน ไปเดินพิพิธภัณฑ์ กลางกรุงฯ เลยได้เห็น มีดพับเล่มสวยนี้เข้า ซึ่งเป็นมีดพับ ที่สยามเราสั่งเข้ามา เป็นของที่ระลึก คราวเปิดสะพานพุทธฯ ในงานฉลองกรุงฯ ครบรอบ 150 ปี
🔸
▪️มีดเล่มนี้ มี️พระบรมสาทิสลักษณ์ *พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ อยู่ทางขวา ส่วนทางซ้าย เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ ของ *พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และมีลายดุลนูน เป็นรูปสะพานพระพุทธฯ อยู่ตรงกลาง
🔸
▪️ ส่วนด้านหลัง มีรายละเอียด ชื่อบริษัทผู้ผลิต จากเยอรมัน และยังระบุชื่อเมือง ไว้อีกหลายแห่ง (ไม่ทราบเหตุผล) ทั้ง Barmen ในเยอรมัน และอีกหลายเมืองในอินโดนีเซีย รวมทั้ง Singapore และ Bangkok
🔸
▪️โครงการสร้างสะพานหนนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 7 มีพระราชดำริ ที่จะสร้างอนุสรณ์ ในวาระที่พระนคร มีอายุครบ 150 ปี และเพื่อเป็นการรำลึก ถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ผู้สถาปนากรุงเทพฯ และยังเป็นการพัฒนา การคมนาคม และขยายพื้นที่ ของพระนครออกไปอีกด้วย
🔸แผนที่เวนคืนที่ดิน เตรียมการสร้างสะพาน🔸
▪️ก่อนการก่อสร้าง มีการเชิญ บริษัทสร้างสะพานชั้นนำ หลายแห่งในยุโรป ให้เข้ามาเสนอแบบ และประกวดราคากันที่กรุงเทพฯ โดยสยาม เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง เข้ามาทั้งหมด
🔸
🔸
▪️มีบริษัทเข้ามาเสนอแบบ และเสนอราคาหลายราย สุดท้าย ก็ได้ข้อสรุป ใช้แบบและบริษัทผู้ก่อสร้างคือ *Dorman Long & Co จาก *Middlesbrough ประเทศอังกฤษ ที่เคยเข้ามาเสนอแบบ สร้างสะพานพระราม 6 มาแล้วก่อนหน้า (แม้จะแพ้ประมูลหนนั้น แต่ Dorman Long & Co ก็มาได้งานซ่อม สะพานพระราม 6 คราวที่ถูกทิ้งระเบิด โดยสัมพันธ์มิตร ในเวลาต่อมา)
🔸
🔸
▪️งานใหญ่หนนั้น *พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงฯ มือเอกโยธาธิการของสยาม วิศวกรรมศาสตร์จาก Trinity College, Cambridge และ Royal School of Military Engineering Regiment (ทหารช่าง) จาก Chatham และสมาชิกสภาวิศวะกรรมศาสตร์ ของสหราชอาณาจักร ทรงเป็นผู้อำนวยการโครงการ
🔸
▪️️ส่วนงานศิลปกรรม พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 1 ประทับเหนือราชบัลลังก์ หล่อด้วยสำริดดำ องค์นี้ *สมเด็จฯ กรมพระนริศฯ เป็นผู้อำนวยการ โดยมี ศจ.ศิลป์ พีระศรี ที่ผูกพันกับกรมพระนริศฯ มายาวนานนับจากแรก เมื่อเดินทางเข้ามาสู่สยาม เป็นผู้ปั้นแบบ ก่อนจะส่งไปหล่อกลับมา จากที่อิตาลี
🔸
️▪️เงิน 4 ล้านบาท ในการก่อสร้าง สะพานเหล็ก ยาวเกือบ 250 เมตร และสามารถยกเปิด-ปิด ตอนกลางของสะพาน ได้ด้วยระบบไฟฟ้า ให้เรือขนาดใหญ่ สามารถลอดผ่าน เข้าออกได้
🔸
🔸
️▪️*ในหลวงพระปกเกล้าฯ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ เป็นทุนเริ่มต้น บวกเงินจากรัฐบาล และเปิดโอกาสให้ พ่อค้าประชาชน ได้ร่วมบริจาค สมทบทุน ดังที่เขียนจารึกไว้ ที่บริเวณเสาหัวสะพาน ทั้ง 2 ฝั่ง
🔸
▪️ส่วนบริษัทวิศวกรรม ผู้ก่อสร้างอย่าง Dorman Long & Co นั้น เป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็ก และก่อสร้างสะพาน รายใหญ่ของอังกฤษ มีผลงานอยู่ในและนอก สหราชอาณาจักร ไกลไปจนถึงแอฟริกา
🔸
🔸
️▪️เมื่อตกลง รับงานที่กรุงเทพฯ หนนั้น Dorman Long & Co กำลังทำงาน ในโครงการใหญ่ที่สุด ของตนอยู่ ที่ Sydney, Australia จนแอบเชื่อว่า profile งานยักษ์ที่ Sydney นี่เอง ที่ทำให้ง่าย ต่อการตัดสินใจ ของฝ่ายไทย
🔸
🔸
▪️เวลานั้น Sydney Harbour Bridge สร้างอยู่ก่อนแล้วกว่า 5 ปี เหล็กที่นำมาใช้ สร้างสะพานที่ Sydney แม้ว่าออสเตรเลีย จะมีแหล่งอุตสาหกรรม เหล็กชั้นดี อยู่ในประเทศหลายแห่ง ทั้ง illiwarra และ Newcastle
🔸
▪️แต่ Dorman Long & Co เลือกที่จะนำเข้าเหล็ก เกือบ 80% ของเหล็ก ที่ใช้ในการก่อสร้างสะพาน มาจากเมือง Redcar แหล่งอุตสาหกรรมเหล็ก ของบริษัทตัวเอง ที่ Middlesbrough
🔸
▪️ซึ่งในเวลานั้น เมืองริมทะเล Redcar มีเตาหลอมเหล็ก อยู่เกือบหนึ่งร้อยเตา ที่ทั้งทันสมัย และใหญ่โตเป็นอันดับ 2 ของยุโรป ซึ่ง Redcar - Middlesbrough นี่เองคือ ศูนย์กลางของ British Steel
🔸
▪️นับจากวันที่ ในหลวงพระปกเกล้าฯ เสด็จฯ วางศิลาฤกษ์ สร้างสะพานที่กรุงเทพฯ ก็เป็นเวลาเดียวกัน กับที่ Sydney Harbour ได้สร้างสะพานเหล็กโค้ง เข้าหากัน ด้วยเทคนิค การถ่วงน้ำหนัก โครงสร้างเหล็ก 52,800 ตัน ด้วยเสาหินแกรนิต ที่ปลายสะพาน จำนาน 4 เสา เสร็จไปแล้วกว่าครึ่ง
🔸
▪️ซึ่งตลอด 3 ปี ของการสร้างสะพานพุทธฯ ที่กรุงเทพฯ เป็น 8 เกือบ 9 ปี ของการสร้างสะพาน ที่ Sydney Harbour ของ Dorman Long & Co ควบคู่กันมาด้วย
🔸
▪️และในต้นปี พ.ศ. 2475 Sydney Harbour Bridge และสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็สร้างแล้วเสร็จ ด้วยกันทั้งคู่ โดย Sydney Harbour Bridge มีพิธีเปิดสะพาน ในวันที่ 19 มีนาคม และในอีก 18 วันต่อมา *สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือ * สะพานพระพุทธฯ ที่เรารู้จักกัน ก็เปิดใช้งานเช่นกัน
🔸
▪️เป็นสองสะพาน ที่ใช้บริษัทผู้ก่อสร้างเดียวกัน เป็นสองสะพาน ที่ใช้เหล็กกล้า เกรดชนิดดีเยี่ยม จาก Redcar Middlesbrough เหมือนกัน และเป็นสองสะพาน ที่เปิดใช้ ในปี พ.ศ.2475 เหมือนกัน
🔸
🔆 📷 All Photos▪️by Tui Kajondej
🔴 ไททานิค Titanic
⭕ ศิลป์ พีระศรี
⭕ ในหลวงบนรถไฟในต่างแดน
✳️️️ เขียนทุกเรื่องด้วยความสนุก เพื่อความสุขของผู้เขียน ไว้สะสมเรื่องเขียน ตรงนี้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา