10 เม.ย. เวลา 16:08 • สิ่งแวดล้อม
โรงเรียนบ้านคำแหว

ติดตาม หนุนเสริม การแก้จนกลุ่มสมุนไพรไทบรู ปรับเปลี่ยนวิธีไปสู่เป้าหมาย

การพัฒนาตามบริบทพื้นที่ตามบริบทคน โดยกรอบดำรงชีพอย่างยั่งยืน (slf) มีส่วนสำคัญมาก เพราะมุ่งเน้นไปที่กลุ่ม / ครัวเรือน / คน ผมมั่นใจว่าทุกคนมีประสบการณ์ล้มในอาชีพมามาก แต่การลุกไวยังเป็นเครื่องหมาย ? ถามกันไปมาอยู่
#ล้มแล้วลุกไว ชาวบ้านยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง อาจเป็นคำปลอบใจหรือคำนิยามสำหรับนักพัฒนามากกว่า ใช่เพราะคำว่าล้มมีความหมายกว้างมาก อธิบายแบบไหนก็ได้
กิจกรรมนี้ ล้ม
โครงการนี้ ล้ม
กลุ่มนี้ ล้ม
ครัวเรือนนี้ ล้ม
คนนี้ ล้ม
พอเห็นภาพไหมครับ ส่วนใครที่ล้มใครที่ลุก ก็ไปวิเคราะห์เอาเอง
กลุ่มสบู่สมุนไพรไทบรูบ้านคำแหว เรายังไม่ล้มนะ เพราะเรายังไม่เดินก้าวแรกด้วยตนเองเลย ทีมนักวิจัย ม.ราชภัฏสกลนคร โดย อ.อ้อย อ.น้อย ได้ปฏิบัติการวิจัย #ล้มแล้วลุกไว ให้กลุ่มชาวบ้านได้เห็นภาพได้ชัด
ติดตาม หนุนเสริม การแก้จนกลุ่มสมุนไพรไทบรู
และวันนี้ 9เม.ย.2567 ได้ติดตาม หนุนเสริมกลุ่มเหมือนทุก ๆ เดือนที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 1 ปี แต่ครั้งนี้เหมือนกำลังจะส่งทางให้ชาวบ้านเดินต่อ พร้อมทั้งหาข้อเสนอการพัฒนากลุ่มเพื่อส่งต่อโอกาสให้โครงการอื่น ๆ
ชาวบ้านสามารถนำไปใช้ โดยมี พ่อป่าว พี่แอน แม่ไหว พี่แพรวา พัฒนาผลิตภัณฑ์และสินค้าอยู่ต่อเนื่อง ตามความต้องการลูกค้า โดยมีจุดแข็งคืออัตลักษณ์ภูมิปัญญา ที่บ่งบอกถึงความเป็นหนึ่งเดียวของไทบรูสกลนคร
ผมว่ามันเป็นการ empowerment ชุมชุม จากการสร้างโอกาสทางสังคม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือชุมชนภูมิใจกล้าที่จะนำเสนออัตลักษณ์ และยังมีผลกระทบคือเกิดช่องทางการสร้างรายได้
ติดตามได้ที่ www.1poverty.com
ติดตาม หนุนเสริม การแก้จนกลุ่มสมุนไพรไทบรู
ติดตาม หนุนเสริม การแก้จนกลุ่มสมุนไพรไทบรู
#โมเดลแก้จน #สมุนไพร #สบู่ไทบรู #ทุนวัฒนธรรม #เกษตรมูลค่าสูง #แก้จนสกลนคร #อากาศอำนวย #นวัตกรรม #บพท #มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร #onepoverty

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา