31 พ.ค. 2022 เวลา 23:00
อริยมรรค ๘ กับ สัมมาทิฏฐิ ๑
เพื่อความถ้วนรอบในธรรม ลำดับต่อไปนี้ อาตมาจะแสดงธรรมในหัวข้อธรรมว่า อริยมรรคมีองค์8 กับ สัมมาทิฏฐิ เบื้องต้น โดยอาตมาได้อาศัยเอา สัมมาทิฏฐิสูตร ข้อ110 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวง12 เป็นที่ตั้ง เพื่อแสดงธรรมนี้ ขอพวกเรา ได้รับฟังไปตามลำดับเถิด
ในเรื่องของอริยมรรคมีองค์8 กับสัมมาทิฏฐิเบื้องต้นนี้ ชาวพุทธทุกคน จะเห็นคำว่า สัมมาทิฏฐิ ปรากฏอยู่ในพระธรรมคำสอนในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่ 2 พระสูตร หรืออยู่ใน 2 ส่วน
ในส่วนที่1 ที่อาตมาเรียกว่า สัมมาทิฏฐิอันเป็นเบื้องต้นนั้น จะปรากฏอยู่ในพระสูตรที่ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิสูตรนี้ เริ่มต้นที่ข้อ110 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกเล่มที่12 นี้ ซึ่งในพระสูตรนี้ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้แสดงธรรม ในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กับพระภิกษุสงฆ์สาวกขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ฟังอยู่
และอาตมาจะอธิบายสรุปเนื้อความแห่งธรรมนี้ให้พวกเราได้รับฟัง ในเรื่องของสัมมาทิฏฐิเบื้องต้นนี้ด้วยในวันนี้ เพื่อความไม่เนิ่นช้าด้วย นี่คือสัมมาทิฏฐิเบื้องต้นที่ทุกคนต้องรู้ต้องเห็น ต้องได้รับทราบ ต้องรู้จริง ต้องแทงตลอดในสัมมาทิฏฐินี้ก่อน นี่เป็นสัมมาทิฏฐิที่1
ส่วนอีกสัมมาทิฏฐิที่2 จะปรากฏอยู่ในพระสูตรที่ชื่อว่า มหาจัตตารีสกสูตร ข้อที่ข้อ252 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่14 ในพระสูตรนั้นแสดงอริยมรรคมีองค์8 เอาไว้ เริ่มต้นที่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัมมาทิฏฐิ ข้อที่1 ในอริยมรรคข้อที่1 นั้นแหละ มีคำว่าสัมมาทิฏฐิอยู่ด้วย
ดังนั้น เราจะเห็นคำว่าสัมมาทิฏฐินี้ อยู่ใน 2 พระสูตร อยู่ใน 2 ส่วน ของพระธรรมคำสอนในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังที่อาตมาแสดงแล้ว ทั้ง 2 สัมมาทิฏฐิ หรือทั้ง 2 พระสูตรนี้ มีบทพยัญชนะที่ต่างกัน มีบทพยัญชนะที่ต่างกัน มีอรรถะ หรือมีเนื้อความแห่งธรรมที่ต่างกัน แต่เกี่ยวข้องกัน
สัมมาทิฏฐิที่1 นี้ ที่เป็นเบื้องต้นนี้ หมายถึงสัมมาทิฏฐิที่ทุกคนจะต้องรู้ในอริยสัจ4 รู้ในทุกข์ รู้ในสมุทัย รู้ในนิโรธ รู้ในมรรค จนถ้วนรอบ นี่คือสัมมาทิฏฐิที่1
สัมมาทิฏฐิที่2 ที่ปรากฏอยู่ในมหาจัตตารีสกสูตรนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิเฉพาะ เฉพาะในข้อธรรมสำหรับดับทุกข์ เป็นเฉพาะ เฉพาะในอริยใรรคมีองค์8 เป็นสัมมาทิฏฐิในอริยมรรคมีองค์8 เป็นข้อธรรมสำหรับปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์
ดังนั้น สัมมาทิฏฐิทั้ง 2 พระสูตรนี้ จึงต่างกันทั้งบทพยัญชนะ และต่างกันในอรรถะด้วย แต่เป็นเรื่องของสัมมาทิฏฐิที่เป็น1 และก็เชื่อมโยงมาสู่สัมมาทิฏฐิที่เป็นเฉพาะนี้ด้วย เชื่อมโยงกันเกี่ยวข้องกัน แต่บทพยัญชนะและเนื้อความแห่งธรรมต่างกัน แต่ต้องรับรู้ว่าสัมมาทิฏฐินี้ไม่ได้ขัดแย้งกัน ไม่ขัดแย้งกัน แต่เพียงแต่สัมมาทิฏฐิหนึ่งนั้นเป็นภาพรวม สัมมาทิฏฐิอีกหนึ่งนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิที่เฉพาะลงไป
เพื่อความไม่คลางแคลงใจสงสัย อาตมาจึงนำเอาสัมมาทิฏฐิทั้ง 2 ส่วนนี้ มาแสดงให้กับพวกเราได้รับฟัง แต่ในเบื้องต้นนี้ จะแสดงในส่วนที่เป็นสัมมาทิฏฐิสูตร ในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่12 พวกกับพวกเรานี้ได้รับฟังก่อน เป็นเบื้องต้น และลำดับต่อไปเราค่อยรู้ในสัมมาทิฏฐิที่เป็นเฉพาะในมหาจัตตารีสักสูตร หรือในอริยมรรคมีองค์8 ไปตามลำดับ เรามาเริ่มกันดังนี้
สัมมาทิฏฐิสูตร ข้อ110 เป็นต้นไป
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุนั้น รับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
หมู่ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กล่าวว่า พวกกระผมมาไกล เพื่อที่จะรู้เนื้อความแห่งภาษิตนี้ ขอท่านพระสารีบุตรจงให้โอกาส แก่พวกกระผมเถิด
แล้วลำดับต่อนั้น ท่านพระสารีบุตรก็ได้แสดงสัมมาทิฏฐิ ไปตามลำดับดังนี้คือ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง อกุศลและรากเหง้าของอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเหง้าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นผู้สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่ พระสัทธรรมนี้
ก็อกุศลเป็นไฉน? อกุศล คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดของรักของชอบใจคนอื่น พูดโกหก ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ มุงหวังในกาม พยาบาทในกาม เป็นมิจฉาทิฏฐิ นี่คืออกุศล10 นี่คืออกุศล10 ถ้าใครประกอบอยู่อย่างนี้เรียกว่า เป็นอกุศล รากเหง้าของอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ คือ โลภ โกรธ หลง ในอกุศล10 นี้นั่นเอง
ส่วนกุศล10 และรากเหง้าจองกุศล10 ก็ประกอบไปด้วย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดของรักของชอบใจคนอื่น ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นผู้ที่ลุ่มหลงในกาม ไม่พยาบาทในกาม เป็นผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ นี่คือกุศล10
รากเหง้าของกุศล10 คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ความไม่โลภ ความไม่โกธร ความไม่หลง ประพฤติปฏิบัติจนสิ้นเกลี้ยง ประพฤติปฏิบัติในอกุศลทั้งหมด จนสิ้นเกลี้ยง เป็นผู้ประกอบอยู่ด้วยความเป็นกุศล บุคคลผู้นั้น เป็นบุคคลผู้ที่สัมมาทิฏฐิข้อที่1
สัมมาทิฏฐิข้อที่2 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร เห็นความดับแห่งอาหาร และทางที่ให้ถึงความดับแห่งอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อริยสาวกได้ชื่อว่า เป็นผู้สัมมาทิฏฐิ
นี่ข้อที่2 ต้องรู้อาหาร ต้องรู้เหตุเกิดแห่งอาหาร ต้องรู้เหตุดับแห่งของอาหาร และต้องรู้ข้อธรรมปฏิบัติเพื่อถึงความดับแห่งอาหาร
อริยสาวกใด ที่ได้รู้ถึงอาหาร รู้เหตุเกิดแห่งอาหาร รู้ความดับแห่งอาหาร รู้ปฏิปทาเพื่อความดับแห่งอาหารจนสิ้นเกลี้ยงแล้ว อริยสาวกนั่นเป็นผู้ที่สัมมาทิฏฐิในข้อที่2 ในข้อที่2
ในข้อที่3 ท่านพระสารีบุตรแสดงเอาไว้ว่า เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์ สมุทัย นิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ในข้อที่3 อริยสาวกรู้ซึ้งอริยสัจ4 นั่นเอง คือรู้ทุกข์ รู้สุมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค บุคคลผู้หนึ่งผู้ใด ผู้เป็นผู้ที่รู้ชัดซึ่ง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดังนี้ บุคคลผู้นั้น เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นประการที่3
ลำดับต่อมาเป็นประการที่4 ประการที่4 ท่านพระสารีบุตรแสดงเอาไว้ว่า เมื่อใดที่อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา มรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับแห่งชรา และมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ที่สัมมาทิฏฐิ
นั่นหมายถึงว่า อริยสาวกต้องรู้ชัดถึง ชราและมรณะ ความเกิดขึ้นของชราและมรณะ คือความเกิดแห่งชาติ ชาติเป็นเหตุให้เกิดชรา มรณะ อริยสาวกก็ต้องรู้ ความดับแห่งชรามรณะ อริยสาวกก็ต้องรู้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ความดับแห่งชรามรณะ คือ ความดับชาติ ปฏิปทาให้ถึงความดับชาตินั้น คืออริยมรรคมีองค์8 นี่คือลำดับที่เป็นความเป็นสัมมาทิฏฐิ ในประการที่4
ประการต่อมา อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ รู้ชัดซึ่งชาติ เมื่อใดที่อริยสาวกรู้ชาติ รู้ความเกิดขึ้นของชาติ รู้ความดับของชาติ รู้ปฏิปทาแห่งความดับชาติ อริยสาวกได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ แล้วหลังจากนั้น ข้อธรรมสำหรับดับชาติให้สิ้นไปนั้นก็เป็นอริยมรรคมีองค์8
ลำดับต่อมา อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ (ภพซึ่งมีอยู่ภพ3 คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ นั้น) อริยสาวก รู้ภพ รู้ความเกิดขึ้นของภพ รู้ความดับของภพ รู้ปฏิปทาดับภพ ดังนี้ อริยสาวกนั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไล่ลำดับตามปฏิจจสมุปบาทลงมา ปฏิปทาให้ถึงความดับภพนั้นคือ อริยมรรคมีองค์8 เช่นเดียวกัน
หลังจากนั้นก็ไล่ไปตามลำดับ ถึงความเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อภพแล้วก็มาถึงอุปาทาน อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่ง อุปาทาน ความเกิดขึ้นของอุปาทาน ความดับอุปาทาน และข้อธรรมปฏิบัติเพื่อความสิ้นของอุปาทาน เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ได้ชื่อว่า อริยสาวกนั้นเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ และหลังจากนั้น ข้อธรรมสำหรับปฏิบัติเพื่อความดับอุปาทานให้สิ้นนั้น คืออริยมรรคมีองค์8
ลำดับต่อมาก็มารู้ที่ ข้อที่ รู้ซึ่งตันหา รู้ชัดซึ่งตัณหา รู้ความเกิดขึ้นของตัณหา รู้ความดับของตัณหา รู้ปฏิปทาให้ดับของตัณหา ดังนี้อริยสาวกได้ชื่อว่าเป็นผู้สัมมาทิฏฐิ และข้อธรรมสำหรับดับตัณหาให้สิ้นนั่นก็เป็นอริยมรรคมีองค์8
ลำดับต่อมาก็ไล่ย้อนลงมาตามปฏิจจสมุปบาท ก็คืออริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา รู้ความเกิดขึ้นของเวทนา รู้ความดับของเวทนา รู้ปฏิปทาถึงความดับสิ้นของเวทนา ดังนี้อริยสาวกชื่อว่า เป็นผู้ที่สัมมาทิฏฐิ และข้อธรรมสำหรับปฏิบัติเพื่อดับสิ้นของเวทนาก็คือ อริยมรรคมีองค์8
ลำดับต่อมาก็ไล่ลงมาถึง อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ รู้ชัดซึ่งผัสสะ รู้ความเกิดขึ้นของผัสสะ รู้ความดับของผัสสะ รู้ปฏิปทาถึงความดับสิ้นของผัสสะ ดังนี้อริยสาวกได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ และข้อธรรมสำหรับปฏิบัติเพื่อความดับสิ้นของผัสสะนั้นก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8
ลำดับต่อมาก็ไล่ย้อนลงมา อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสฬายตนะ รู้ชัดซึ่งความเกิดขึ้นของสฬายตนะ รู้ความดับของสฬยตนะ รู้ปฏิปทาถึงความดับของสฬายตนะ ดังนี้อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ที่สัมมาทิฏฐิ และข้อธรรมสำหรับปฏิบัติเพื่อความดับสิ้นของสฬายตนะก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8
ลำดับต่อมาก็ไล่ลงมาถึง อริยสาวกรู้ชัดในนามรูป รู้ชัดซึ่งความเกิดของนามรูป รูปชัดซึ่งความดับนามรูป รู้ชัดซึ่งปฏิปทาถึงความดับของนามรูป ดังนี้อริยสาวกได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่สัมมาทิฏฐิ และข้อธรรมสำหรับปฏิบัติเพื่อดับสิ้นของนามรูปก็คือ อริยมรรคมีองค์8
ลำดับต่อมาไล่ลงมาจนถึง อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ วิญญาณ รู้ชัดซึ่งวิญญาณ รู้ความเกิดขึ้นของวิญญาณ รู้ความดับของวิญญาณ รู้ปฏิปทาถึงความดับของวิญญาณ ดังนี้อริยสาวกได้ชื่อว่า เป็นผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ และข้อธรรมสำหรับปฏิบัติเพื่อความดับสิ้นของวิญญาณก็คือ อริยมรรคมีองค์8
ลำดับต่อมาก็ไล่ย้อนลงมาถึง อริยสาวรู้ชัดซึ่งสังขาร รู้ความเกิดขึ้นของสังขาร รู้ความดับของสังขาร รู้ปฏิปทาซึ่งความดับสิ้นของสังขาร ดังนี้อริยสาวกได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ และข้อธรรมสำหรับปฏิบัติเพื่อดับสิ้นของสังขารก็คือ อริยมรรคมีองค์8
และที่สุดไล่ลงไปจนถึง อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา อวิชชา รู้ความเกิดของอวิชชา รู้ความดับอวิชชา รู้ปฏิปทาเพื่อถึงความดับสิ้นของอวิชชา ดังนี้อริยสาวกได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ และข้อธรรมสำหรับปฏิบัติเพื่อความดับสิ้นของอวิชชาก็คือ อริยมรรคมีองค์8
และจนที่สุด อริยสาวกนั้น รู้ชัดซึ่งอาสวะ รู้ความเกิดของอาสวะ รู้ความดับของอาสวะ และที่สุดรู้ซึ่งปฏิปทาดับสิ้นของอาสวะ ก็คือริยมรรคมีองค์8 ดังนี้นั้น อริยสาวกได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
นี้คือบทแห่งธรรมที่ปรากฏอยู่ในสัมมาทิฏฐิสูตร ที่พระสารีบุตรแสดงธรรมของพระศาสดา อยู่ในสัมมาทิฏฐิสูตรข้อที่110 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวง ในเล่มที่12 ที่อาตมาอธิบายสรุปให้กับพวกเราได้รับฟัง เพื่อให้เราเห็นว่า สัมมาทิฏฐิสูตรนี้ คือเบื้องต้นแห่งความเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นหลักใหญ่
นั่นหมายถึงว่า บุคคลผู้นั้นจะต้องรู้ความเกิดขึ้นของทุกข์ รู้ทุกข์ รู้ความเกิดขึ้นของกองทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้ปฏิปทาถึงความดับทุกข์ นั่นคือรู้อริยสัจ4 ต้องรู้ในเรื่องนี้ก่อน จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเบื้องต้น เป็นหลักใหญ่ เป็นสัมมาทิฏฐิที่1 ที่ต้องรู้ทุกคน
แล้วหลังจากนั้นจึงไปรู้จักสัมมาทิฏฐิ ในมหาจัตตารีสกสูตร ในอริยมรรคมีองค์8 ในข้อที่1 คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ไปตามลำดับนั้น
ส่วนสัมมาทิฏฐิในอริยมรรคมีองค์8 นั้น เป็นสัมมาทิฏฐิเฉพาะ เฉพาะลงไปในการดับทุกข์ โดยอาศัยบทธรรมที่ชื่อว่า อริยมรรคมีองค์8 ที่แสดงอยู่ในมหาจัตตารีสกสูตรนี้ ปฏิบัติความเป็นสัมมาทิฏฐิ ต้องดับทุกข์นี้ให้ได้ ด้วยสัมมาทิฏฐินี้ ซึ่งบทพยัญชนะและอรรถะในเนื้อความแห่งธรรมนั้นต่างกัน
อาตมาใช้วิธีอธิบายสรุปให้กับพวกเราได้รับฟังสั้นๆ เพื่อให้พวกเราได้ตามรู้ในสัมมาทิฏฐิใน 2 ส่วนนี้ ซึ่งลำดับต่อไปในเบื้องหน้าโน้น อาตมาจะกลับมาอธิบายในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ให้พวกเราได้เห็น ด้วยการแจกวิภังค์ให้ละเอียดอีกทีหนึ่ง เพื่อพวกเราจะได้เห็นสัมมาทิฏฐิที่ถูกต้อง ครอบควบคุมกันอยู่
และโยงไปถึงสัมมาทิฏฐิในอริยมรรคมีองค์8 ในข้อที่1ด้วย ในมหาจัตตารีสกสูตร ลำดับต่อไปนี้อาตมาจะแสดงสัมมาทิฏฐิในส่วนนั้นให้กับพวกเราได้รับฟัง สัมมาทิฏฐิในส่วนที่2 ในอริยมรรคมีองค์8 ซึ่งบทพยัญชนะจะต่างจากเนื้อความแห่งธรรมในพระสูตรที่ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิสูตรนี้ แต่ทั้ง 2 ส่วนสัมพันธ์กัน สัมพันธ์กัน
สัมมาทิฏฐิที่อาตมาแสดงธรรม ที่พระสารีบุตรแสดงธรรมของพระศาสดาอยู่นี้ เป็นบื้องต้นที่ทุกคนต้องรู้ สัมมาทิฏฐิในอริยมรรคมีองค์8 นั้น ข้อที่1 นั้น เป็นสัมมาทิฏฐิเฉพาะลงไป ในการดับทุกข์ ซึ่งทั้ง 2 พระสูตรนี้ หรือทั้ง 2 สัมมานี้ ทุกคนจะต้องรู้ว่า สัมคัญไม่แพ้กันเลย เป็นไปตามลำดับ เป็นไปตามหน้าที่เท่านั้นเอง
แสดงธรรมโดย หลวงพ่อ พุทธปัญโญ
วันพุธที่ 16 เดือน มิถุนายน ปี 2564
อนุโมทนากับทุกคนเอาไว้เท่านี้
โฆษณา