3 เม.ย. 2023 เวลา 07:00

การเฝ้าดูลมหายใจ ไม่มีในพุทธศาสนา ดังนี้

พระพุทธเจ้าตรัสในยอานาปานสติสูตรว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี สู่โคนไม้ก็ดี สู่เรือนว่างก็ดี เธอนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก เธอมีสติหายใจเข้าดังนี้
เป็นเหตุให้หมู่มสลชาวพุทธหลังพุทธกาลมานี้ ได้สำคัญเอาเอง ได้ตรึกเอาตามอาการ สำคัญเอาตามอาการ ว่านี่เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าบัญญัติการปฏิบัติธรรมด้วยการนั่งสมาธิขึ้น จากพระสูตรที่ชื่อว่าอานาปานสติสูตรนี้
1
ดังนั้นเพื่อชี้ให้เห็นว่าพระพุทธเจ้านั้น ท่านแสดงมหาสติปัฏฐานสูตรบ้าง อานาปานสติสูตรบ้าง กายคตาสติสูตรบ้าง ขึ้นต้นเหมือนกัน ขึ้นต้นพระสูตรเหมือนกัน จะแสดงให้ดูอีกครั้ง
และจะชี้ให้ดู จะแสดงให้ดูว่า คำว่าการเฝ้าดูลมหายใจนั้น ไม่มี ไม่มีคำว่าการเฝ้าดูลมหายใจ หรือการดูลมหายใจ ตลอดระยะเวลาที่นั่งนิ่ง หรือทำอาการนั่งสมาธิของใครของใครไม่มีในพุทธศาสนา เรามาเริ่มต้นดูกัน
ในเบื้องต้นนี้จะนำเอามหาสติปัฏฐานสูตรมาให้ได้ดูก่อน ที่ตรงนี้มหาสติปัฏฐานสูตรจากพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 10
มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 10 บ้าง เล่มที่ 12 บ้า
จะเอาให้ดูในหมวดที่พระองค์ท่านขึ้นต้น เบื้องต้นในกายคตาสติสูตร ในกายานุปัสสี คือ การดูกายในกาย ดูดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี สู่คนไม้ก็ดี สู่เรือนว่างก็ดี
เธอนั่งคู้บัลลังก์ (จะขีดทิ้งคำว่านั่งคู้บัลลังก์ออก ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าคำนี้ไม่มีในพุทธศาสนา)
ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก เธอมีสติหายใจเข้า
แล้วว่าโดยลมหายใจ การรู้ลมหายใจไปตามลำดับ แต่ดูลมหายใจของท่านนั้น
กำลังปฏิบัติสติปัฏฐานสูตรอยู่ ให้เราเห็นตรงนี้ นี่คือมหาสติปัฏฐานสูตร
ต่อไปนี้จะให้ดูที่อานาปานสติสูตร เรามาดูอานาปานสติสูตรก่อน
อานาปานสติสูตร ข้อ 282 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ดูลำดับต่อไปจะขึ้นต้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก เธอย่อมมีสติหายใจเข้า แล้วก็มีสติร่ำไป จนแก่กำลังๆในการปฏิบัติ
แล้วต่อไปนี้เรามาดูที่กายคตาสติสูตร ให้ดูดังนี้
กายคตาสติสูตร ข้อ 292 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า แล้วก็ว่าเรื่องลมหายใจไปตามลำดับ
ที่เอามาแสดงตรงนี้เพื่อให้ได้เห็นว่าทั้ง 3 พระสูตร ทั้งมหาสติปัฏฐานสูตรบ้าง ทั้งอานาปานสติสูตรบ้าง ทั้งกายคตาสติสูตรบ้าง พระพุทธเจ้าขึ้นต้นพระสูตรเหมือนกันทุกประการ
ถ้าเป็นคำบาลีจะขึ้นด้วยคำว่า
อิธ ภิกขเว ภิกขุ
อรัญญคโต วา
รุกขมูลคโต วา
สุญญาคารคโต วา
นิสีทติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา อุชุง กายัง
ปณิธาย ปริมุขัง สติง อุปัฏฐเปตวา
ขึ้นต้นเหมือนกันว่าภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี สู่โคนไม้ก็ดี สู่เรือนว่างก็ดี เธอนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้านี้ ขึ้นต้นเหมือนกันแม้ในพระสูตรที่ชื่อว่า เวนาคสูตร ที่ได้ยกมาในตอนที่แล้ว
เวนาคสูตร ข้อ 503 พระไตรปิฎกฉบัลหลวงเล่มที่ 20
ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าแสดงเอง ปฏิบัติเอง
เพื่อตอบคำถามวัจฉโคตรพราหมณ์ชาวเวนาคปุระ
จากกรณีที่ชาวเวนาคปุระพูดชื่อวัจฉโคตรพราหมณ์นี้ ได้เกิดความสงสัยใคร่รู้ในธรรม
ที่พระพุทธเจ้าว่า พระองค์ท่านนั้นก็ได้
ที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ที่เป็นของทิพย์
ที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่อันเป็นพรหม
ที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่อันเป็นอริยะอยู่
ซึ่งทุกวันนี้ท่านพระโคดม
ได้ตามความปารถนา นิกามลาภี
ได้โดยไม่ยาก อกิจฉลาภี
ได้โดยไม่ลำบาก อกสิรลาภี นั้นเป็นไฉน
วัจฉโคตรพราหมณ์นั้นถามพระพุทธเจ้า ทำให้พระองค์ท่านได้ตอบกับวัจฉโคตรพราหมณ์
ณ ที่แห่งนี้ได้ชี้ให้ดูแล้วว่า พระสูตรทั้ง 3 พระสูตร ทั้งมหาสติปัฏฐานสูตร ทั้งอานาปานสติสูตร ทั้งกายคตาสติสูตร ขึ้นต้นพระสูตรเหมือนกัน จะไปเหมาเอาว่า อานาปานสติสูตร พระพุทธเจ้าบัติญัติการนั่งสมาธิเอาไว้ไม่ใช่
เรามาดูที่ตรงนี้อีกครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านตรัสกับวัจฉโคตรพราหมณ์ว่า
โส ปัจฉาภัตตัง ปิณฑปาตปฏิกกันโต
วนันตังเยว ปจารยามิ
โส ยเทว ตัตถ โหนติ
ติณานิ วา ปัณณานิ วา
ตานิ เอกัชฌัง สังฆริตวา นิสีทามิ ปัลลังกัง
เอาที่ตรงนี้ก่อน
ดูกรพราหมณ์ เราอาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เวลาเช้า เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคมแห่งนั้นแหละ
โส ปัจฉาภัตตัง หลังภัตตาหารแล้ว
ปิณฑปาตปฏิกกันโต กลับจากบิณฑบาตแล้ว
วนันตังเยว เราเข้าไปยังชายป่า ซึ่งคำนี้ก็เหมือนกันกับที่ท่านบัญญัติเอาไว้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี สู่โคนไม้ก็ดี สู่เรือนว่างก็ดี
1
จะไปป่าจริงหรือไม่ป่าจริงไม่สำคัญ แต่ทุกที่จะต้องเป็นป่า แต่พระพุทธเจ้าผู้ได้ฌานแล้วนี้ ท่านเข้าป่าไม่มีปัญหาใดๆกับท่านเลย เราต้องดูตรงนี้
วนันตังเยว ปจารยามิ เราจึงเข้าไปยังชายป่า
โส ยเทว ตัตถ โหนติ ติณานิ วา ปัณณานิ วา
ตานิ เอกัชฌัง สังฆริตวา นิสีทามิ ปัลลังกัง
กวาดหญ้า ติณานิ วา ปัณณานิ วา ตานิ เอกัชฌัง กวาดหญ้ากวาดใบไม้ ณ ที่นั้นเป็นกองแล้ว
เอกัชฌัง สังฆริตวา เป็นกองแล้วขึ้นนั่ง แล้วขึ้นนั่งที่กองหญ้ากองใบไม้นั้น
อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปณิธาย ปริมุขัง
สติง อุปัฏฐเปตวา
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า ดูที่ตรงนี้ดูต่อที่ตรงนี้
จากที่ตรงนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดงการเฝ้าดูลมหายใจ ไม่มีคำว่า เธอมีสติหายใจเข้า เธอมีสติหายใจออก เธอมีสติหายใจออก เธอมีสติหายใจเข้าใดๆ ไม่มี
ดังที่ได้สรุปให้ได้ทราบว่า ในธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศเอาไว้ว่า มยา ธัมโม อภิญญา เทสิตา เสยยถีทัง สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมะเหล่าใดที่เราแสดงด้วยความรู้อันยิ่ง ธรรมะเหล่านั้น คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 นั่นคือโพธิปักขิยธรรม อันเป็นธรรมสำหรับดับทุกข์นั้น
แสดงรายละเอียดอยู่ใน
มหาสติปัฏฐานสูตร 1
แสดงโดยย่ออยู่ในอานาปานสติสูตร 1
แสดงโดยย่อที่สุดอยู่ในกายคตาสติสูตร 1
ทั้งหมดนั้นจะต้องปฏิบัติด้วยการเป็นผู้ที่เห็นทุกข์
เห็นเหตุแห่งความเกิดทุกข์
เห็นความดับทุกข์ หรือนิโรธ
เห็นข้อธรรมสำหรับดับทุกข์ คือ อริยมรรคมีองค์ 8
นี่คือเห็นอริยสัจ 4
หรือเห็นเหตุเกิด เห็นเหตุดับ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริง ก็คือ เห็นอริยสัจ4 อันเดียวกัน
ทั้งหมดทั้งมวลแห่งธรรมนี้ปฏิบัติด้วยการกระทำฌาน ได้ชี้ให้ดูมาตามลำดับแล้วว่าใครไม่บรรลุธรรมกระทำฌานไม่ได้ ดับกรรมไม่ได้ ทำโลกเก่าคือโลกในวัฏสงสารให้สิ้นไปไม่ได้ ไปสู่โลกที่เป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรืออรหัตตผลไม่ได้ หรือนิพพานไม่ได้
ทุกคนจะต้องรู้จักฌาน รู้จักวิธีการกระทำฌาน เท่านั้นจึงจะทำได้ และในเวนาคสูตร เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงเอาไว้ว่า
อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปณิธาย ปริมุขัง
สติง อุปัฏฐเปตวา
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า
ต่อด้วยคำว่า
โส วิวิจเจว กาเมหิ วิวิจจ อกุสเลหิ ธัมเมหิ
เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
คนที่จะปฏิบัติตามธรรมของพระพุทธเจ้าได้ จะต้องเป็นผู้ที่กระทำตามข้อธรรมมาตามลำดับแล้ว รู้เหตุเกิด รู้เหตุดับ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริงแล้ว หรือ รู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรคแล้ว
จึงจะสามารถปฏิบัติโพธิปักขิยธรรม อันประกอบไปด้วย สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 นี้ได้
โดยใช้คำตรงนี้ว่า ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า ก็คือ สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ หรือสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามข้อธรรมที่ว่า วิชชาจรณสัมปันโน
หรือโพธิปักขิยธรรม หรือมหาสติปัฏฐานสูตร
หรืออานาปานสติสูตร หรือกายคตาสติสูตรนี้ โดยการกระทำฌาน
คนที่จะกระทำฌานได้จะต้องเป็นผู้ที่
โส วิวิจเจว กาเมหิ วิวิจจ อกุสเลหิ ธัมเมหิ
เราเป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว
เมื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว
โดยไม่ได้เฝ้าดูลมหายใจนะนี้ ให้ดูตรงนี้
การเฝ้าดูลมหายใจไม่มีเลย แต่ในมหาสติปัฏฐานสูตรบ้าง อานาปานสติสูตรบ้าง กายคตาสติสูตรบ้างนั้น ที่ให้เฝ้าดูลมหายใจ ที่บอกว่าทุกลมหายใจเพราะเป็นไปตามลำดับ
มหาสติปัฏฐานสูตรนั้น ท่านแสดงเอาไว้ว่า ให้เธอมีสติเข้าไปรับรู้ 4 อาการนี้นะ
รู้กายในกาย
รู้เวทนาในเวทนา
รู้จิตในจิต
รู้ธรรมในธรรม
มีสติทุกลมหายใจด้วย ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ด้วย ในสติปัฏฐานสูตรนี้แสดงไว้ชัดเจน ให้เธอไปดูอย่างนั้น
ไม่ได้บอกให้มาเฝ้าดูลมหายใจ แต่ให้เธอมีสติทุกลมหายใจในขณะที่มีชีวิตอยู่
เพื่อเห็นกายในกาย
เห็นเวทนาในเวทนา
เห็นจิตในจิต
เห็นธรรมในธรรม ก็คือทำความดับทุกข์
ทำความดับทุกข์ไม่มีการเฝ้าดูลมหายใจแต่อย่างใดเลย แต่ชี้ให้ดูว่ามีสติทุกลมหายใจตลอดที่มีชีวิตอยู่นี้ เพื่อกระทำความดับทุกข์โดยเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรมนี้ หรือเห็นสติปัฏฐาน 4 นี้อยู่
เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นคำว่า โส วิวิจเจว กาเมหิ วิวิจจ อกุสเลหิ ธัมเมหิ เลยในพระสูตรที่พระพุทธเจ้าแสดงนี้
ในเรื่องการกระทำฌานได้แสดงไว้บ้างแล้วตามลิงค์ด้านล่างนี้ หรือสามารถค้นคว้าได้ด้วยต้นเอง จากพระสูตรที่พระพุทธเจ้าแสดงการกระทำฌานตามลำดับขั้น ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 8 ฌาน 1 ถึง ฌาน 5 ของท่านพระสารีบุตร เอาไว้ในอนุปทสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14 เล่มเดียวกันกับ เวนาคสูตร
พระองค์ท่านก็แสดงเหมือนกันว่า พระสารีบุตรนั้น
โส วิวิจเจว กาเมหิ วิวิจจ อกุสเลหิ ธัมเมหิ
เมื่อท่านพระสารีบุตร สงัดจากกาม สงักจากอกุศลธรรม
สวิตักกัง สวิจารัง วิเวกชัง ปีติสุขัง ปฐมัง ฌานัง
เหมือนกันกับพระองค์ท่านเลย
โส วิวิจเจว กาเมหิ วิวิจจ อกุสเลหิ ธัมเมหิ
เมื่อสงัดจากกาม สงักจากอกุศลธรรมแล้ว
สวิตักกัง มีวิตก
สวิจารัง มีวิจาร
วิเวกชัง มีธรรมอันเป็นเอกผุดขึ้น มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ วิเวกชังนี้ เกิดวิเวกเกิดเป็นเป็นความจิตตั้งมั่นจิตเตกัคคตาตรงนี้อยู่ เพราะการกระทำฌานนะ เพราะการกระทำฌานไม่ใช่เกิดจากการไปเฝ้าดูลมหายใจ ไม่ใช่
เพราะฉะนั้นเรื่องของการดูลมหายใจไม่มีในพุทธศาสนา แต่ให้มีสติทุกลมหายใจ ขณะที่เธอมีชีวิตอยู่นี้ ในการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ว่านี่ทุกข์ นี่สมุทัย นี่นิโรธ นี่มรรค
หรือให้มีสติทุกลมหายใจ ในขณะที่เธอมีชีวิตอยู่นี่ ให้เห็นเหตุเกิดทุกข์นะ เห็นเหตุดับทุกข์น่ะ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริง หรือเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม
ทั้งหมดนี้เป็นการปฏิบัติธรรมตามโพธิปักขิยธรรม ที่ว่า เสยยถีทัง สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง ไม่ได้มีการเฝ้าดูลมหายใจเลย
คนที่เฝ้าดูลมหายใจนั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิมีอยู่ทั่วไปหลังแล้วมานี้ แล้วแอบอ้าง แล้วเอ่ยอ้าง เอาว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติเอาไว้ด้วย พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติดูดีๆ
ดูดีๆนะ
อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปณิธาย ปริมุขัง สติง อุปัฏฐเปตวา โส วิวิจเจว กาเมหิ วิวิจจ อกุสเลหิ ธัมเมหิ
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า สำรวมอินทรีย์ 6 แล้วสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในถายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
นี่เข้าตติยฌานแล้ว จากมีอุเบกขามา เป็นฌาน 3 และหลังจากนั้นที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ที่ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
หลังจากนั้นเข้าสู่ฌาน 4 ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
นี่คือการปฏิบัติธรรมเพื่อความดับทุกข์ของพระพุทธเจ้า โดยการกระทำฌานเลย
เมื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้วนี้กระทำฌาน 1 2 3 4 เลย ไม่มีไปนั่งเฝ้าดูลมหายใจแต่อย่างใด
นำเนื้อความแห่งธรรมนี้มาแสดงให้ได้รับทราบ เพื่อชี้ชัดให้ได้รับทราบว่า การเฝ้าดูลมหายใจ ไม่มีในพุทธศาสนา และเพื่อตอบคำถามสำหรับผู้ที่สงสัยว่า ทำไมจึงได้แสดงธรรมเหมือนหักล้างคนอื่นเขา คนอื่นเขานั่งสมาธิกันอยู่โดยทั่วไป แต่นี่กลับว่าการนั่งสมาธิไม่มีในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่เคยแสดง ไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยบัญญัติไม่เคยประกาศด้วยพระสูตรใดๆเลย
และได้รอเวลานานพอสมควร จึงอาศัยพระสูตรที่ชื่อว่าเวนาคสูตรนี้ มาแสดงให้ได้รับทราบ หลังจากที่ได้รับทราบรับฟังเรื่องของการนั่งสมาธิมาโดยลำดับ
อ้างอิง
เวนาคสูตร ข้อ 503 พระไตรปิฎกฉบัลหลวงเล่มที่ 20
มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 10 บ้าง เล่มที่ 12 บ้าง
อานาปานสติสูตร ข้อ 282 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14
กายคตาสติสูตร ข้อ 292 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14
โฆษณา