4 มิ.ย. 2020 เวลา 00:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
• โลชั่นกันยุง … กันยุง ได้จริงหรือ ??
น้ำมันยูคาลิปตัส
ว่าด้วยเรื่องยุง…… ไข้เลือดออก จะมาอีกแล้วว
ยุงเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งก่อความรำคาญ ความคัน รวมไปถึงเป็นพาหะน้ำโรคร้ายด้วย เช่น ยุงลายนำโรคไข้เลือดออก ยุงก้นปล่องนำโรคไข้มาลาเรีย ยุงลายนำโรคชิกุนกุนย่า
โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน อากาศร้อนชื้น ยุงจะเยอะเป็นพิเศษ …… สอดคล้องกับ จำนวนตัวเลขผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่มักจะพบสูงขึ้นในช่วง ปลายๆปี เนื่องด้วยการระบาดของยุงลายนั่นเอง
… มนุษย์อย่างเราคงต้องหาวิธีการป้องกันตัวกันหน่อย
แน่นอนว่า หลายท่านคงมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป ในการใช้ยากันยุง ไม่ว่าจะเป็นชนิด โลชั่นทาผิว สเปรย์กันยุง ครีมกันยุง ยาจุดกันยุง หรือแม้กระทั่ง……
ตบยุง……
การตบยุง
ยาจุดกันยุงที่ซึ่งกลิ่นเหม็น ดมไปนานๆแล้วรู้สึกวิงเวียน หายใจติดขัด คลื่นไส้อาเจียน ได้ …… สิ่งเหล่านี้ เป็นผลข้างเคียงของสารส่วนผสมใน ยาจุดกันยุงทั้งสิ้น
ผมจะพาคุณมา รู้จัก ยากันยุง และวิธีการที่ยากันยุง สามารถป้องกันยุงกัด และผลข้างเคียงของยากันยุงแบบต่างๆ กันครับ
* รูปภาพในโพสเพื่อประกอบ ให้ความรู้เท่านั้น มิได้เจตนาขายของแต่อย่างใด*
ยากันยุง ที่ใช้กันในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1.ชนิดป้องกันการกัดเช่น สเปรย์ฉีด ครีม โลชั่น
2.ชนิดควันฆ่ายุง เช่น ยาจุดกันยุง
น้ำมันตะไคร้หอมกันยุง
1. ยาชนิดลงบนผิวหนัง :
1.1) เป็นสารเคมีสังเคราะห์ สร้างโดยมนุษย์ ซึ่งมีส่วนผสมที่ แตกต่างกันไปตาม แต่ละชนิด ยี่ห้อ เช่น
- DEET (Diethyltolunamide) 5-25%
- Dimethyl Phthalate
- Ethyl butylacetylaminopropionate
- Icaridin/ Picaridin
- IR3535 ( 3-N-Butyl-N-acetyl-aminopropionic acid ,ethyl ester)
1.2) เป็นสารธรรมชาติ ที่ออกฤทธ์ ป้องกันการกัด เช่น
- Oil of Citronella หรือน้ำมัน ตะไคร้หอม …… เป็นสารที่รู้จักและใช้กันมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี ตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ย่าตาทวด มีการประยุกต์แพร่หลายเช่น ธูปหอม เทียนหอม กันยุง
- Oil of Lemon Eucalyptus ได้จากใบ และกิ่งของต้น ยูคาลิปตัส นำมาทำเป็น โลชั่น และ สเปรย์
…สารสังเคราะห์ จะมีระยะเวลาป้องกันยุงได้นานกว่า (2-6 ชั่วโมงโดยประมาณ)
ส่วน สารจากธรรมชาติก็จะสั้นกว่า แตกต่างกันไป ทำให้ต้อง ทา ถี่กว่า
สเปรย์ตะไคร้หอม (Oil of Citronella)
• กลไกในการไล่ยุงของยากันยุงกลุ่มแรกนี้คือ ‘’การป้องกันยุงกัด’’ แต่มิได้ ฆ่ายุง
… ปกติยุงจะมีอวัยวะในการหาเหยือโดยตามจาก กลิ่น หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซ์ จากลมหายใจของเรา ทีนี้เมื่อเราทาสารประกอบกันยุวเหล่านี้ลงบนผิวกาย ก็เสมือนเป็นการ ‘’พรางตัว’’ ยุงไม่ได้กลิ่นเราแล้ว … ก็เลยไม่กัด ระยะพรางตัว อยู่แค่ประมาณ 2-3 นิ้วจากผิวหนังเท่านั้น และยังมีระยะเวลาที่สารบนผิวหนังเราจะ ระเหยและดูดซึม ไปจนหมดอีกด้วย
ประมาณ 2-6 ชั่วโมง (สารจากธรรมชาติจะน้อยกว่านี้)
• สารสังเคราะห์เหล่านี้ สามารถมีผลค้างเคียงได้ โดยส่วนมากจะเป็นอาการเฉพาะที่ เช่น ระคายเคืองผิวหนัง ผื่นแดง ผื่นลมพิษ ส่วนอาการข้างเคียงทางระบบอื่น อาจเจอได้ แต่ต้องได้รับในปริมาณมากๆๆๆ เช่น คลื่นได้ อาเจียน ปวดหัว มึนงง
…… วิธีนี้ ไม่ฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต ไม่ผิดศีลธรมม สำหรับสายบุญ นะคร้าบบบ………
ถัดมา สำหรับสายโหด …… กัดเราดีนัก ฆ่าทิ้งไปเลยดีกว่าา จะตบก็ เลอะเทอะ เปื้อนมือ
2. ชนิดควันฆ่ายุง ที่เรารู้จักและยังมีใช้กันอยู่ คือ ยาจุดกันยุง
… ‘’Pyrethroids” สารไพรีทรอยด์ เป็นสารที่สังเคราะห์จากธรรมชาติมาอีกต่อหนึ่ง คือ จากดอก เบญจมาศ ดอกไพรีทรัม ลักษณะของสารนี้จะเป็นผงสีเขียวปนน้ำตาล มีฤทธิ์เป็นด่าง สามารถออกฤทธ์กำจัดแมลงได้……. จึงมีการนำสารเหล่านี้มาใช้ในการทำการเกษตร เป็นยาฆ่าแมลง แต่จะใช้ในปริมาณสูงงงงงน่ะ
ยุง ก็เป็นแมลง …… หึหึ
ยาจุดกันยุง : ไพรีทรอยด์
• สารไพรีทรอยด์(Pyrethroids) นั้นออกฤทธิ์ โดยการรบกวนการทำงานของช่องส่งสัญญาณ โดยเฉพาะเซลล์ประสาท (Sodium Channel) จะทำให้ เซลล์เหมือนถูกกระตุ้นตลอดเวลา(Hyperexcitation) โดยยุงจะมีความไว ต่อสารนี้มากเป็นพิเศษ รวมถึงแมลงชนิดอื่นๆด้วย ในขณะที่ มนุษย์ไม่.
• สารไพรีทรอยด์ที่นำมาใช้ในการเป็นยาจุดกันยุงนั้น มนุษย์จะได้รับความเป็นพิษผ่านการสูดดม หรือรับประทาน และต้องได้รับในปริมาณมากและระยะเวลานาน … ดังนั้นการใช้ยาจุดกันยุง ในสถานที่เปิด มีกระแสลมผ่าน และเวลาไม่นาน จึงมักไม่ค่อยเกิดภาวะพิษ
…… ยุงบินเข้ามา สูดควัน ไพรีทรอยด์เข้าไป ฟื้ดดด…… รับรอง ร่วงกันเป็นแถว เพราะ เซลล์ประสาทยุงเป็นอัมพาตทันทีครับ บินต่อไม่ได้ แบ้วว...
ข้อควรระวัง การใช้ยากันยุง
• ทาบนผิวหนังเท่านั้น อย่ากิน หรือ ฉีดเข้าตา
• ไม่ควรทาในเด็กเล็ก โดยเฉพาะน้อยกว่า 4 ปี
• การทาในปริมาณมาก โดยเฉพาะที่มากกว่า 30% ของพื้นที่ผิวของร่างกาย อาจเกิดอาการข้างเคียงได้
• ถ้าคุณแพ้ สารในยากันยุง ห้ามใช้ทุกกรณี (ตบยุงแทน)
• งดใช้ในสตรีมีครรภ์ (ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่ยืนยันความปลอดภัยที่ชัดเจน)
• ไม่ควรทาลงบนบริเวณที่เป็นแผลสด
• สำหรับ ไพรีทรอยด์ หรือยาจุดกันยุงนั้น เวลาจุดเกิดควันแล้ว ควรจุดในสถานที่โปร่ง มีลมพัดผ่าน ไม่ควรวางเหนือลม และ ไม่ควรจุดในสถานที่รับประทานอาหารเพราะ สารไพรีทรอยด์จะไปเกาะในจานอาหารของคุณและคุณก็กินเข้าไปจนเกิดพิษได้
• ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสสารเคมี
…… หากมีข้อห้ามใช้ชนิดยากันยุงที่มีสารเคมี
แนะนำ ภาพด้านล่าง …… หึหึ
ไม้ตบยุงไฟฟ้า - เปรี้ยะ ๆ
• ชอบบทความฝาก กดติดตาม ไลค์ แชร์กันด้วยครับ
References
เชิญติดตามบทความน่าสนใจเพิ่มเติม ผมรวบรวมใว้ Link ด้านล่าง
• อันตรายจาก น้ำแข็งกัด
• ข่าววัคซีน โควิด
• พระพุทธเจ้าบนก้อนหิน
• สายปีนเขา ต้องรู้
• มันสำปะหลัง มีพิษ
• ‘’The Force’’ … หรือ ‘’พลัง’’จะมีอยู่จริง
โฆษณา