19 ธ.ค. 2022 เวลา 13:30

โสตาปัตติยังคะ หรือ โสดาบัน จักบริบูรณ์ด้วยเหตุดังนี้

ข้อธรรมที่ว่า โสตาปัตติยังคะ หรือ โสดาบัน จักถึงความบริบูรณ์ได้ ด้วยเหตุดังนี้ เพื่อให้ถึงฐานะแห่งความบริบูรณ์ของโสตาปัตติยังคะหรือโสดาบัน ไปตามลำดับ จึงนำเอากีฏาคิริสูตร ข้อ238 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่13 มาเป็นที่ตั้ง เพื่อให้ได้เห็นข้อธรรมที่จะทำให้ได้เป็นผู้ที่ถึงฐานะโสตาปัตติยังคะ หรือโสดาบันอันบริบูรณ์ไปตามลำดับ
เรารับทราบแล้วว่าพระธรรมคำสอนในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนกันอยู่อย่างนี้ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น ท่านจงทำในใจอย่างนี้ อย่าได้ทำในใจอย่างนั้น ท่านจงละสิ่งนั้น จงเข้าถึงสิ่งนี้แล้วอยู่ นี้คืออนุสาสนีปาฏิหาริย์
ซึ่งอนุสาสนีปาฏิหาริย์นี้ คือความเข้าสู่ความฐานะแห่งความเป็นโสดาบัน อันประกอบไปด้วยโสตาปัตติยังคะ 4 คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวันไหวในพระพุทธเจ้า1
ความเลื่อมใสอันไม่หวันไหวในพระธรรม1
ความเลื่อมใสอันไม่หวันไหวในพระภิกษุสงฆ์1
ความที่ประกอบด้วยอริยกันตศีลพร้อม1
หรือองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศโสตาปัตติยังคะเอาไว้ในโสตาปัตติยังคสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่19 โดยเนื้อความแห่งธรรมโดยหลักว่า สัปบุรุษ1 หรือ สัตบุรุษ คือ คบกับสัตบุรุษ1
ลำดับต่อมาเป็น สัทธัมมัสสวนะ คือฟังธรรม1 ลำดับต่อมา คือโยนิโสมนสิการการ คือ กระทำความรู้ยิ่ง รู้จริง แทงตลอดในธรรมนั้นจนเป็นที่ถ้วนรอบ1 และลำดับต่อมาเป็น ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ คือปฏิบัติธรรมไปตามลำดับ เริ่มต้นตั้งแต่ความเป็นโสตาปัตติยังคะหรือโสดาบันนี้ไปตามลำดับ จนกระทั่งถึงความเป็นอรหัตตผล ศึกษาและปฏิบัติไปตามลำดับในข้อธรรมอันเดียวกันนี้
และแม้แต่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปฏิญาณตนว่าถ้าเมื่อพระองค์ท่านยังไม่รู้เหตุเกิด ไม่รู้เหตุดับ ไม่รู้คุณ ไม่รู้โทษ ไม่รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง6 ตามความเป็นจริง พระองค์ท่านก็จะไม่ปฏิญาณตนว่าตนเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ต่อเมื่อใดพระองค์ท่านรู้เหตุเกิด รู้เหตุดับ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง6ตามความเป็นจริงแล้ว บัดนั้นพระองค์ท่านจึงปฏิญาณตนได้ว่าเราเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว นี่คือองค์แห่งโสตาบันหรือโสตาปัตติยังคะ เฉกเช่นเดียวกัน
ลำดับต่อไปนี้จะนำเอา กีฏาคิริสูตรข้อ238 เป็นต้นไปมาแสดงให้ได้รับทราบถึงความเป็นไปตามลำดับแห่งธรรม เพื่อกระทำให้โสตาปัตติยังคะหรือโสดาบันได้ถึงความบริบูรร์ ดังนี้
นาหัง ภิกขเว อาทิเกเนว อัญญาราธนัง วทามิ อปิจ
ภิกขเว อนุปุพพสิกขา อนุปุพพกิริยา อนุปุพพปฏิปทา
อัญญาราธนานัง โหติ
....ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้แล้วย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้แล้วย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมแล้วย่อมทรงธรรมนั้นไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ความอุตสาหะย่อมเกิด ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้วย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะนั้นด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา
จากลำดับนี้เราจะเห็นว่าจากความที่เริ่มต้นที่ศรัทธา คือความศรัทธา
เมื่อศรัทธาแล้วเราย่อม อุปสังกมนัง คือเข้าไปใกล้ เข้าไปหา เข้าไปใกล้
เมื่อเข้าไปใกล้แล้วย่อม ปยิรุปาสนา คือเข้าไปนั่งใกล้ๆ
เมื่อนั่งใกล้แล้วย่อม โสตาวธานัง ย่อมเงื่อโสตลง เตรียมฟัง
เมื่อเงื่อโสตแล้วก็ ธัมมัสสวนัง ก็คือฟังธรรมนั้น
เมื่อฟังธรรมแล้ว ธัมมธารณา ก็ย่อมทรงจำธรรมนั้นไว้
ฟังแล้วต้องจำได้ จำติดปาก จำขึ้นใจ
เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อัตถุปปริกขตา เมื่อทรงจำธรรมนั้นไว้แล้วก็ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมนั้น ตรงนี้เป็นแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิในธรรมนั้นๆ
เมื่อกำลังแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิอย่างนั้น ธัมมนิชฌานักขันติยา ธรรมนั้นย่อมทนต่อการพิสูจน์ เห็นความเป็นจริงในเนื้อความแห่งธรรมนั้น
เมื่อเห็นความเป็นจริงแล้วก็ย่อม ฉันโท คือเกิดความฉันทะ เกิดความพอใจ เกิดความยินดี
ลำดับต่อมาเมื่อความฉันทะแล้วก็ย่อม อุสสาหะ ก็คือย่อมตั้งใจมั่น บากบั่นขึ้น
เมื่อบากบั่นแล้วก็ย่อม ตุลนา ย่อมพิจราณา ย่อมเปรียบเทียบ ย่อมใคร่ครวญให้ความเป็นจริงยิ่งขึ้น
เมื่อเห็นความเป็นจริงดังนั้นแล้วย่อม ปธานัง ย่อมตั้งใจพากเพียรยิ่งขึ้น พากเพียรยิ่งขึ้น
นี่คือฐานะแห่งความเป็นไปตามลำดับนั้นเมื่อเป็นไปตามลำดับนั้นแล้วย่อม สมาโน กาเยน เจว ปรมัง สัจจัง สัจฉิกโรติ ปัญญาย จ นัง อติวิชฌ ปัสสติ
เมื่อส่งตนเข้าไปในฐานะของความพากเพียรตามลำดับๆแล้ว เมื่อส่งตนไปดีแล้ว ส่งตนเข้าไปในธรรมนั้นดังนี้แล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยองค์แห่งชีวิตคืองค์แห่งกายนี้
และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งซึ่งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา คำว่าด้วยปัญญา ตรงนี้คือ เห็นเหตุเกิด เห็นเหตุดับรู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง6ตามความเป็นจริง หรือเห็นอริยสัจ4 นั่นหมายถึงว่ารู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้อริยมรรคมีองค์8หรือรู้มรรคไปตามลำดับ
นี่คือลำดับของบุคคลผู้ที่จะกระทำความถึงอันเป็นที่สุด หรือความบริบูรณ์ในโสตาปัตติยังคะ คือดังที่ได้ย้ำอยู่เสมอว่าจะทำด้วยวิธีอื่นไม่ได้ วิธีอื่นไม่ได้เลย เพราะเบื้องต้นจริงๆธรรมะนี้เป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ไม่เกิดจากการไปศึกษาตำรับตำรา หรือแม้กระทั่งอ่านพระไตรปิฎกนี้
ต้องเกิดจากการฟัง การฟังก็คือเบื้องต้นคือการคบสัตบุรุษ ถ้าโสตาปัตติยังคะหมวดแรกก็คือ เลื่อมใสอันไม่หวันไหวในพระพุทธเจ้า เลื่อมใสอันไม่หวันไหวในพระธรรม เลื่อมใสอันไม่หวันไหวในพระภิกษุสงฆ์ ประกอบไปด้วยอริยกันตศีล 4 ประการนี้
นั่นหมายถึงว่าขณะที่คำว่าเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในประการต่างๆนั้น คือเรากำลังคบสัตบุรุษอยู่ ต้องหาผู้รู้ต้องเขาหาผู้รู้ ใครเป็นผู้รู้ในเรื่องข้อที่จะทำให้เราออกจากทุกข์ในวัฏฏะสงสารนี้ เรามีความทุกข์ที่ต้องเวียนเกิดเวียนแก่เวียนเจ็บเวียนตายในวัฏฏะสงสาร หรือแม้เห็นสภาวะของวัฏฏะสงสารไม่ได้ เราก็เห็นความเป็นมนุษย์ของเรา มีตัวอย่างคนอื่นต้องเกิดต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายก่อนเรา และเราก็กำลังเป็นไปในฐานะนั้น คือจะต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ใครจะช่วยเราได้เรื่องนี้
เมื่อเราทราบชัดว่ามีบุคคลผู้ที่สามารถรู้จริงแทงตลอดในเรื่องนี้ และกระทำการปฏิบัติจนถึงผลอันเป็นที่สุดคือองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระองค์ท่านก็ประกาศธรรมนี้ ให้หมู่มวลมนุษยชาติได้รู้ตาม ได้ปฏิบัติตามจนถึงผลได้มีอยู่ทั่วไป นี่หละบุคคลนี้คือสัตบุรุษที่เราต้องคบต้องหา
แต่ในกรณีที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อยู่แล้ว องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานน์ ธรรมใดวินัยใดที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมนั้นวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยการล่วงไปแห่งเรา (ถ้าท่านปรินิพพานแล้วนั้น สิ่งที่จะเป็นตัวแทนของพระองค์ท่านคือธรรม)
ธรรมในที่นี้จะอยู่กับใครทีนี้ ธรรมก็ต้องอยู่กับบุคคล กับตัวบุคคล เว้นพระพุทธเจ้าไว้แล้ว ต่อมาก็จะเป็นอรหันตสาวกที่เป็นเอตทัคคะต่างๆ และสมัยนี้เอตทัคคะต่างๆก็ล่วงลับไปจนสิ้น หรือปรินิพพานตามองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปจนสิ้นแล้ว ใครหละที่จะเป็นบุคคลเหล่านี้ได้
ดังนั้นก็จะเป็นบุคคลผู้ที่เป็นพหูสูต เหล่าเรียนพระสูตร คือทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา บุคคลผู้นี้เท่านั้นที่จะรู้จริงแทงตลอด แต่บุคคลคนนี้ดังที่ได้บอก ในยุคปัจจุบันนี้จะไม่สามารถรู้จริงแทงตลอด ในพระธรรมคำสอนในพระไตรปิฎกนี้ได้ ด้วยเหตุใดๆ ได้แสดงเอาไว้แล้ว
ดังนั้นเราก็จะต้องหาบุคคลผู้ที่ เมื่อท่านเป็นพหูสูต เรียนจบคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาที่แท้จริง เราต้องรู้ว่าท่านนั้นจะต้องเป็นผู้รู้จริง จริงๆ คนนี้ที่เราจะต้องคบต้องหา หาให้เจอ ที่ไหนก็ตามหาให้ได้ ต้องรู้ ต้องรู้ว่าท่านรู้ยังไง เราต้องใคร่ครวญสืบสวนให้ดีก่อน จึงเข้าหาบุคคลคนนี้
นี่คือเหตุสำคัญของเรา เมื่อเข้าหาแล้วเราก็ย่อมฟังธรรมจากท่านทีนี้ สัตธัมมัสสวนะ คือต้องฟังธรรม ฟังดังที่ได้นำเอากีฏาคิริสูตรมาแสดงให้เห็น ต้องเป็นไปตามลำดับ เมื่อศรัทธาแล้วตอนนี้เป็นเข้าหาแล้วทีนี้ เข้าหาท่านฟังธรรมท่าน เข้าใกล้ ไปนั่งใกล้ นั่งใกล้ๆเงื่อโสตลงฟัง เงื่อโสตลงฟังแล้วก็ฟังธรรมนั้น ธัมมัสสวนัง คือฟังธรรมนั้น
เมื่อฟังธรรมแล้วก็จำธรรมนั้นไว้ ธัมมธารณา ทรงจำธรรมนั้นไว้ เมื่อทรงจำธรรมนั้นไว้แล้วก็อัตถุปปริกขตาใคร่ครวญเนื้อธรรม
เมื่อใคร่ครวญเนื้อธรรมก็ธัมมนิชฌานักขันติยา ธรรมนั้นย่อมทนต่อการพิสูจน์ เราต้องทำความรู้จริงแทงตลอดในธรรมนั้นให้ถึงให้ได้ ห้ามว่าง ห้ามเปล่า เพราะท่านบัญญัติ
องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บัญญัติเอาไว้ว่าถ้าเธอไม่เข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตเราคำใด ให้เธอสอบถามเรายิ่งๆขึ้น หรือสอบถามภิกษุผู้ฉลาด หรือผู้รู้ธรรมนี้ก็ได้ ต้องสอบต้องถาม นี่คือความสำคัญ
ธัมมนิชฌานักขันติยา ธรรมนั้นย่อมทนต่อการพิสูจน์ เมื่อธรรมทนต่อการพิสูจน์แล้ว เราก็ย่อมเกิดความฉันทะยินดีในธรรมที่เราศรัทธานี้ ได้ความปีติ ได้ความปราโมทย์ ที่เราได้ฟังธรรมได้รู้จริงตามธรรมนี้แล้ว
เมื่อฉันทะแล้วย่อมอุตสาหะ อุสสาโห คือกระทำความยิ่งๆขึ้น
เมื่อกระทำความยิ่งๆขึ้นแล้ว ตุลนา เราก็ย่อมพินิจพิจารณา เปรียบเทียบ ใคร่ครวญสิ่งที่ผิดกับสิ่งที่ถูก อันไหนเป็นกุศลอันไหนเป็นอกุศล อันไหนเป็นโทษอันไหนเป็นธรรม อันไหนเป็นเลวอันไหนเป็นปณีต อันไหนเป็นกรรมดำอันไหนเป็นกรรมขาว เราต้องเป็นผู้ที่รู้ดังนี้ให้ได้ตาม
เมื่อเรา ตุลนา แล้ว เราย่อมเห็นความเป็นจริง
แล้วย่อม ปธานัง ปทหติ ปหิตตโต ตั้งใจมั่นเข้าไป สมาโน กาเยนะ ส่งตนเข้าไปในธรรมนั้น
ปรมัง สัจจัง ธัมมัง ก็เห็นธรรมนั้นด้วยความเป็นจริง สัจฉิกโรติ ปัญญายะ จะ นัง อติวิชฌะ ปัสสติ ย่อมกระทำให้แจ้งในธรรมนั้นด้วยกายของเรา
เมื่อเราทำมาตามลำดับองค์แห่งชีวิตของเราก็เห็นว่าธรรมนั้นเป็นดังนี้ และย่อมแทงตลอดด้วยปัญญาซึ่งบรมสัจจะนั้น รู้จริงแทงตลอดในธรรมนั้น ต้องเป็นไปตามลำดับ นี่เป็นประการที่2 แล้ว ที่สัตธัมมัสสวนะ
ลำดับต่อมาที่ได้นำโสตาปัตติยังคะมาแสดง ก็คือสภาวะที่เรารู้จริงแทงตลอดมาตามลำดับในขั้นตอนของการฟังธรรมนั้น คือโยนิโสมนสิการ คือทำความรู้จริงแทงตลอดในธรรมนั้นๆ ไม่ใช่ฟังสักแต่ว่าฟัง เกิดความสงสัยก็เก็บงำเอาไว้ ไม่ซักไม่ถาม อย่างนั้นไม่ใช่องค์ประชุมแห่งการกระทำให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติยังคะ
เมื่อกระทำให้แจ้งในธรรมนั้นแล้ว ลำดับต่อมาจึง ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ คือปฏิบัติเลย ไม่ใช่ปฏิบัติตามสมควรแก่ธรรมเท่านั้นไม่ใช่ความนี้
คำว่าสมควรแก่ธรรม คืออยากทำเท่าไรก็ทำเท่านั้น ไม่ได้ เมื่อรู้จริงแล้วต้องเอาจริง ต้องเอาจริงต้องปฏิบัติตามลำดับตามที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงเอาไว้
อนุปุพพสิกขา เรียนไปตามลำดับ
อนุปุพพกิริยา กระทำไปตามลำดับ
อนุปุพพปฏิปทา ปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่ปล่อยกลางวางครึ่งใดๆเอาไว้
ต้องทำความรู้จริงเหล่านั้นให้เกิดขึ้น องค์ประชุมดังกล่าวนี้จึงจะทำให้โสตาปัตติยังคะที่เรารู้ข้อธรรมแล้ว เป็นไปด้วยความบริบูรณ์โดยลำดับของอนุสาสนีปฏิหาริย์
ต้องเกิดจาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนกันอยู่อย่างนี้ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น ท่านจงทำในใจอย่างนี้ อย่าได้ทำในใจอย่างนั้น ท่านจงละสิ่งนั้น จงเข้าถึงสิ่งนี้แล้วอยู่ นั่นคือการบอกการสอนกัน ต้องเกิดจากการบอกการสอนกัน
การอ่าน การศึกษา ได้แสดงไว้แม้กระทั่งพระไตรปิฎกนี้ไม่ใช่ตำราเรียน เพราะเจตนาของการเกิดขึ้นของพระไตรปิฎกนี้ไม่ใช่เขียนขึ้นเพื่อให้เป็นตำราเรียน
ดังนั้นบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะเข้ามาอ่านพระธรรมคำสอนในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกแล้วนี้ จะเกิดความลำบากทั้งสิ้น ซึ่งธรรมนี้ อตักกาวจรา ห้ามคาดเดา ถ้าเดาแล้วผิดได้ทันที
ผิดได้ทันที ดังที่ได้แสดงไว้แล้วว่าหมู่มวลชาวพุทธหลังพุทธกาล เห็นผิดในธรรมอันเป็นเบื้องต้นคือปฏิจจสมุปบาทนี้ ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องอื่น พอเห็นปฏิจจสมุปบาทไม่ได้ก็เห็นขันธ์5 เป็นร่างกายมนุษย์ เห็นขันธ์5 เป็นร่างกายมนุษย์ท่านผิดทันที ถ้าผิดที่ตรงนี้ทุกที่ผิดหมด
ทีนี้ก็จะไปกล่าวตู่พระธรรมคำสอน ไปบัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติดังที่เราเห็นเพราะผิดมาตั้งแต่ต้น ถ้าไม่ผิดจะไม่เห็นผิดในธรรมขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เพราะเห็นมาตามลำดับ เห็นธรรมมาตามลำดับ รู้ธรรมมาตามลำดับ
เมื่อเห็นผิดในธรรมแล้ว ก็เลยเกิดการบัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ แล้วถอนสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติเอาไว้แล้ว คือโพธิปักขิยธรรมหรืออริยสัจ4 เราถอนทิ้งโดยไม่รู้ตัว เราพูดอยู่ เราเหมือนเราให้ความสำคัญของอริยสัจ4 แต่เรารู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ ก็เลยทำอย่างอื่น
เฉพาะผู้ที่ได้ฟังธรรมนี้แล้ว จงได้ตระหนัก จงได้ตั้งมั่น จงได้กระทำความเด็ดเดียวของตนเพื่อที่จะให้รู้ในธรรมนี้ เบื้องต้นคบสัตบุรุษ หาผู้รู้ใครก็ได้ที่อยู่ในฐานะ เพราะทุกวันนี้องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อยู่ อรหันต์ไม่อยู่แล้ว หาภิกษุผู้ฉลาด ผู้ที่ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา คือเป็นพหูสูต เรียนจบคำภีร์แล้ว ถามท่าน หาท่าน
เมื่อเข้าไปหาท่านแล้วจงสอบถามไถ่ถามท่านเทิด ตามกาลตามเวลา ถามว่าพุทธพจน์นี้หรือพระธรรมนี้คืออะไร เนื้อความแห่งธรรมนี้คืออะไร เข้าหาแล้วถามท่าน ไม่ต้องกริ่งเกรง ไม่ต้องกังวลใดๆ ต้องถาม
ภิกษุผู้รู้นั้นท่านจะทำด้วยความเมตตา ท่านย่อมจะเปิดเผยธรรมที่ยังไม่ถูกเปิดเผย กระทำธรรมที่ลึกอยู่ให้ตื้นขึ้นมา บรรเทาความสงสัยที่เราเกิดความสงสัย นั่นหละเราจะเป็นผู้รู้จริงตามธรรมนั้นได้
1
เราคบสัตบุรุษ เราฟังธรรมนั้น เรากระทำความแยบคาย คือทำความรู้จริงในธรรมนั้นให้ถึง และที่สุดเราต้องปฏิบัติดู เมื่อปฏิบัติแล้วตรงนั้นหละเราจะเกิดฉันทะ อุตสาหะ ตุลนา ปธานัง
และส่งตนเข้าไปในธรรม ส่งตนเข้าไปในธรรมแล้วย่อมรู้แจ้งในธรรมนั้นด้วยกาย ย่อมแทงตลอดในบรมสัจจะ คือความจริงนั้นไปตามลำดับ เป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ที่สุดไปตามลำดับ
เหตุที่จะทำให้ทุกคนกระทำโสตาปัตติยังคะ 4 หรือโสดาบันบริบูรณ์นั้น ต้องเกิดจากอนุสาสนีปาฏิหาริย์ หรือกระบวนการแห่งการเข้าสู่โสดาบันนี้ ดังที่ได้ยกกีฏาคิริสูตรนี้ หรือจะมีอยู่ในจังกีสูตรบ้าง ก็เหมือนกันทุกพระสูตรทุกวิธีการ เป็นการกระทำไปตามลำดับ แต่พระสูตรกีฏาคิริสูตรนี้แจงให้เห็นว่าเป็นรายละเอียด
ต้องดังนี้ ต้องทำดังนี้
อ้างอิง
กีฏาคิริสูตร ข้อ238 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่13
รายละเอียดเพิ่มเติมในธรรมส่วนอื่นๆ สามารถรับฟังได้ที่นี้
PODCAST 👇
แนวทางสู่โสดาบัน✔

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา