28 มี.ค. 2023 เวลา 23:00

สติปัฏฐาน 4 เบื้องต้น

โดยเบื้องต้นชี้ให้ดูแล้วว่า การที่บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดจะบรรลุธรรมได้นั้น จะต้องกระทำเหตุกระทำปัจจัยตามอนุสาสนี หรืออนุสาสนีปาฏิหาริย์เท่านั้น
ต้องเกิดจากการได้เข้าหาผู้รู้1
ได้ฟังข้อธรรม1
และเอาตนเองเข้าไปฟังธรรม1
มีเหตุปัจจัย 3 ประการนี้จึงจะเป็นองค์ประชุมแห่งอนุสาสนีปาฏิหาริย์
แต่การดำเนินการกระทำตามอนุสาสนีปาฏิหาริย์ให้สำเร็จได้ในครั้งแรกนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ก็เป็นไปตามธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศเอาไว้ว่า
นาหัง ภิกขเว อาทิเกเนว อัญญาราธนัง วทามิ อปิจ
อนุปุพพสิกขา อนุปพฺพกิริยา อนุปพฺพปฏิปทา อัญญาราธนานัง โหติ
การเข้าตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการมาครั้งเดียวนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ แต่การเข้ามาสู่ความเป็นอรหัตตผลนั้น จะต้องศึกษาไปตามลำดับ กระทำไปตามลำดับ ปฏิบัติไปตามลำดับเท่านั้นจึงจะเกิดผลได้ เพราะฉะนั้นถ้าเพียงครั้งแรก ครั้งเดียวนี้ จะเกิดผลเลยนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ดังนั้นการที่ได้แสดงธรรมมาเกือบจะ 2 ปีนี้ จึงเป็นความรู้เบื้องต้นกับผู้ที่ได้ฟังได้อ่าน ณ ที่แห่งนี้ไว้ก่อนว่า หลังพุทธการมานี้ หมู่มวลชาวพุทธของพวกเรา ไม่สามารถที่จะรู้จริง ไม่สามารถจะแทงตลอด ในพระธรรมคำสอนในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ปรากฏชัดอยู่ในหลักฐานทางธรรม คือ พระไตรปิฎกได้
จึงได้ค่อยๆแสดงลำดับของการเห็นผิด
อย่างเช่นพวกเรา พระพุทธเจ้าประกาศ อริยสัจ4 เอาไว้ แต่พวกเราไม่สามารถเข้าถึงอริยสัจ4
พวกเราก็ไปปฏิบัติการนั่งสมาธิบ้าง1
การเดินจงกรมบ้าง1
การสวดมนต์อ้อนวอนบ้าง1
การเดินธุดงค์บ้าง1 หรือการปฏิบัติธรรมคราวละ 3 วันบ้าง 5 วันบ้าง 7 วันบ้าง1
เหล่านี้เป็นความที่ได้ชี้ชัดว่าผิดธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าที่ประกาศเอาไว้
1
ส่วนการกระทำที่ถูกต้องหรือการปฏิบัติที่ถูกต้องนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักที่พระพุทธเจ้าประกาศเอาไว้คืออริยสัจ4 หรือบุคคลผู้มีปัญญาเห็นตามก็จะรู้เหตุเกิด รู้เหตุดับ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริง นั่นคือฐานะของผู้มีปัญญาแล้ว
หรือทุกคนจะต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าประกาศอริยสัจ4นี้ ประกาศเอาไว้ว่า นี่ทุกข์ นี่สมุทัย นี่นิโรธ นี่มรรค ดังนี้ ในข้อมรรคนั้นยังแสดงรายละเอียด ให้เราเห็นได้ว่าเฉพาะอริยมรรคมีองค์8นั้น ไม่สามารถปฏิบัติตามธรรมจนถึงผลอันเป็นที่สุดได้ พระพุทธเจ้าจึงประกาศธรรมฮ้อมล้อมเป็นโพธิปักขิยธรรม
อันประกอบไปด้วย สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์8 นี้เป็นหลัก
ทุกคนก็จะต้องรู้เห็นตรงนั้นด้วย สติปัฏฐาน 4 หรือที่พระพุทธเจ้าแสดงเอาไว้ในพระสูตรที่เรียกว่ามหาสติปัฏฐานสูตร หรือมหาสติปัฏฐาน 4 นี้ แต่ก่อนที่จะมาถึงตรงนี้ได้ ยังไงๆก็ต้องเป็นไปตามธรรม คือเบื้องต้นคืออย่างไร? ท่ามกลางคืออย่างไร? จึงจะมาถึงที่สุดนี้
1
เพราะตรงนี้เป็นที่สุด เป็นที่สุดในการปฏิบัติ จึงชี้ให้ดูดังนี้ว่า ได้แสดงมาโดยลำดับว่าหมู่มวลชาวพุทธของพวกเรานั้น ไม่สามารถจะรู้จริง ไม่สามารถจะแทงตลอดในพระธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้
1
ตรงปฏิจจสมุปบาทนี้ พระพุทธเจ้าแสดงเอาไว้ในเทศนาสูตร เบื้องต้นในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 16 นั้น จะขึ้นต้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงสังขาร จึงวิญญาณ จึงนำรูป จึงสลายตนะ จึงผัสสะ จึงเวทนา
1
จึงตัณหา จึงอุปาทาน จึงภพ จึงชาติ
จึงชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส
อัปปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ลภติ ตัมปิ ทุกขัง
ไปตามลำดับดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น มีได้ด้วยประการฉะนี้
เสร็จแล้วพระองค์ท่านจะตรัสเป็นบททำยอดต่อท้ายว่า สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
ว่าโดยย่ออุปาทานและขันธ์ทั้ง5 เป็นตัวทุกข์
ขันธ์ 5 ที่ย่อลงมาจากปฏิจจสมุปบาทย่อมาเป็นขันธ์ 5 นี้ ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
บทธรรมเป็นแม่บทธรรมหลักคือปฏิจจสมุปบาทนี้
ถูกย่อลงมาเป็นขันธ์5 ผู้รู้ในปฏิจจสมุปบาทแล้ว
จะสามารถเอาขันธ์5นี้ กลับขึ้นไปเป็นปฏิจจสมุปบาทได้ โดยปกติ ได้โดยง่ายทุกคนจะต้องรู้
ส่วนนี้เป็นส่วนของความเกิดขึ้นของกองทุกข์อันเดียวกัน และในขณะเดียวกันในเทศนาสูตรนั้น พระพุทธเจ้าก็จะแสดงในส่วนของความดับทุกข์ด้วย เมื่อเหตุเกิดทุกข์เกิดขึ้นด้วย จิต มโน วิญญาณของเราที่แสดงอยู่ด้วยอาการที่เราเห็นได้ด้วยปฏิจจสมุปบาทดังนี้ หรือด้วยขันธ์ 5 ดังนี้
3
เมื่อดับก็จะต้องดับที่ปฏิจจสมุปบาทนี้ เกิดที่นี่ดับลงที่นี่ เมื่อดับก็จะดับด้วยปฏิจจสมุปบาทโดยพระพุทธเจ้าแสดงเป็นปฏิโลม ย้อนลงมา เช่นชรามรณะนี้เกิดขึ้นได้เพราะอะไร อะไรเป็นปัจจัย ก็จะมีชรามรณะนี้มีชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ แล้วก็จะดับลงมาๆ
ชรามรณะดับได้เพราะชาติดับ
ชาติดับได้เพราะภพดับ
ภพดับได้เพราะอุปาทานดับ
อุปาทานดับได้เพราะตัณหาดับ
ตัณหาดับได้เพราะเวทนาดับ
เวทนาอันดับได้เพราะผัสสะดับ
ผัสสะดับได้เพราะสฬายตนะดับ
สฬายตนะดับได้เพราะนามรูปดับ
นามรูปดับได้เพราะวิญญาณดับ
วิญญาณดับได้เพราะสังขารดับ
สังขารดับได้เพราะเกิดวิชชาขึ้น
ไม่ใช่ดับอวิชชาแต่ว่าเป็นเกิดวิชชาขึ้นเกิดความรู้ขึ้น ดังนี้ให้เราเห็นตามนี้
2
แต่ในส่วนนี้ล่ะเราเห็นแล้วว่าความเกิดขึ้นของกองทุกข์ เกิดขึ้นเพราะปฏิจจสมุปบาท พอดับก็ดับด้วยดับปฏิจจสมุปบาทนี้ หรือมักจะมากล่าวในที่ทั่วๆไปจะบอกว่าขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์ ถ้าจะดับทุกข์ก็ต้องดับที่ขันธ์ 5 นี้ ดับที่ขันธ์ 5 ดับที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้
แต่พอเอาเข้าจริงแล้ว พอมาแสดงมหาสติปัฏฐานสูตรซึ่งประกาศชัดว่า
เอกายโน อยัง ภิกขเว มัคโค
หนทางนี้เป็นทางไปอันเอก
1
สัตตานัง วิสุทธิยา
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
โสกปริเทวานัง สมติกกมาย
เพื่อล่วงความโศกและความปริเทวะทั้งหลาย
ทุกขโทมนัสสานัง อัตถังคมาย
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
1
ญายัสส อธิคมาย
เพื่อความบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
นิพพานัสส สัจฉิกิริยาย
เพื่อความกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ยทิทัง จัตตาโร สติปัฏฐานาติ
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน 4
ไม่ได้บอกว่าให้ไปดับปฏิจจสมุปบาทนะ ไม่ได้บอก
แต่บอกว่าทางไปอันเอกคือทางนี้ คือมาดับในสติปัฏฐานสูตรนี้ จึงย่อให้ได้เห็นว่าปฏิจจสมุปบาทขันธ์ 5 นี้เป็นอันเดียวกัน
เพราะฉะนั้นเมื่อความดับทุกข์ดับที่ปฏิจจสมุปบาท
อันที่จริงก็คือธรรมของพระพุทธเจ้ามีโดยย่อและโดยวิตถาร สังขิตเตนะ และวิตถาเรนะ
อย่างเช่นปฏิจจสมุปบาทรายละเอียด โดยย่อก็คือขันธ์ 5 มีละเอียดกับโดยย่อ
ปฏิจจสมุปบาทถูกย่อลงมาเป็นสติปัฏฐาน 4
หรือย่อจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้
อีกทีหนึ่งชั้นหนึ่งย่อลงมาเป็นสติปัฏฐาน 4
1
รูป มาเป็นกายในกาย
เวทนา มาเป็นเวทนาในเวทนา
สังขาร มาเป็นจิตในจิต
วิญญาณ มาเป็นธรรมในธรรม
สัญญาเป็นตัวของเราเองในฐานะผู้รู้ ผู้กำลังจะดับทุกข์อยู่ กระทำการดับทุกข์อยู่
1
นี่คือข้อธรรมที่ถูกย่อลงมาส่วนวิธีการดับทุกข์จะไปดูตอนท้าย เราจะเห็นในเรื่องของการกระทำฌาน ดังนั้นได้พูดเอาไว้ได้เขียนเอาไว้
ว่าคุณสมบัติแห่งฌาน
ฌาน 1 คืออย่างไร? ฌาน 2 คืออย่างไร? ฌาน 3 คืออย่างไร? ฌาน 4 คืออย่างไร?
ทุกคนจะต้องรู้ จะต้องรู้ในเรื่องของการกระทำฌาน จึงจะปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 หรือมหาสติปัฏฐาน 4 นี้ได้
ธรรมทั้งหมดทั้งมวลของพระพุทธเจ้า จะต้องกระทำการดับทุกข์ด้วยการกระทำฌานเท่านั้น รู้ว่าวิตกคืออะไร? รู้ว่าวิจารคืออะไร? แล้วก็ทำการดับด้วยการกระทำฌานนี้เท่านั้น
หรือรู้อริยสัจ 4 ว่า นี่ทุกข์ นี่สมุทัย นี่นิโรธ นี่มรรคอย่างไร ก็ต้องดับด้วยการกระทำฌานเท่านั้น กระทำอย่างอื่นไม่ได้
เพราะฉะนั้นจะให้ดูว่าหลังจากที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แสดงสติปัฏฐานสูตรให้กับพวกเราได้เห็น จะเห็นพระองค์ท่านได้แสดงกายในกาย
ตรงนี้ชี้ให้ดูแล้วว่า
กายในกาย คือ รูปนะ
เวทนาในเวทนา คือ เวทนา
จิตในจิต คือ สังขาร
ธรรมในธรรม คือ วิญญาณ
1
โดยย่อทุกคนก็จะต้องรู้ปฏิจจสมุปบาททั้งหมด
รู้ขันธ์ 5 ทั้งหมด และพอเปลี่ยนสภาพธรรม
ให้เห็นเนื้อความแห่งบทพยัญชนะต่างกันออกไป
1
เราก็จะต้องรู้ว่ารูปนี้ คือ กายในกายนะ หรือกายในกาย คือ รูปนะ
เวทนาคือเวทนาในเวทนา หรือเวทนา คือ ในเวทนานี่คือเวทนานะ
1
สังขาร คือ จิตในจิต หรือจิตในจิตนี่ คือ สังขารนะ
วิญญาณ คือ ธรรมในธรรม ธรรมในธรรม คือ วิญญาณนะ
และโดยรายละเอียดนั้นประณีตนัก อยู่ในพระสูตรนี้
แต่เบื้องต้นนี้จะให้ดูในส่วนที่พอปฏิบัติไปแล้ว
เราจะเห็นว่าพอพระองค์ท่านชี้ให้ดูกายในกาย
จะไม่อธิบายรายละเอียดตรงนี้นะ แต่จะชวนดูในที่ท้ายๆของมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ จะชี้ให้ดูตรงนี้
พอเข้ามาถึงกายในกายปุ๊ป พอพรรณนาไปจนจบ เพราะว่ารูปทุกรูปที่เกิดขึ้นแล้ว ล้วนแล้วแต่มีสภาวะเป็นเหมือนกายของมนุษย์นี่แหละ รูปทุกรูปเหมือนกัน จะต้องมีความเกิดขึ้น มีความแก่ มีความเจ็บ มีความตาย ไปที่สุดเหมือนกัน ถ้าใครยึดเอาไว้คนนั้นเป็นทุกข์
พระองค์ท่านจะแสดงตรงนี้แล้ว จะขยายให้ดูนิดนึงตรงนี้ว่าคืออย่างไร
1
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในภายในและภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดและความเสื่อมขึ้นภายในกายบ้าง
อาการนี้ไม่ใช่ว่าพวกเราไปเห็นแล้วเขาเกิดขึ้นเห็นเขาดับลงไปเฉยๆไม่ใช่ เห็นความเกิดขึ้นเห็นทุกข์เกิดขึ้น เห็นทั้งภายใน เห็นทั้งภายนอก เห็นทั้งภายในและภายนอก เห็นเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกชัดเจนแล้ว
1
เราพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดขึ้นภายในกายบ้าง คือ เห็นธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ตอนนี้เราเห็นทุกข์เกิดขึ้น
แล้วพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง คือ คำว่าความเสื่อมในกาย ในที่นี้คือเรากำลังเป็นผู้ดับทุกข์แล้ว ความเสื่อมในที่นี้หมายถึงเราเป็นผู้ดับทุกข์
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดและความเสื่อมในกายบ้าง คือ เห็นว่าทุกข์ใดเกิดขึ้นเราทำความดับทุกข์ไปแล้ว เราทำความดับทุกข์ไปแล้ว จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้เห็นสติปัฏฐาน 4
2
ตรงนี้ดูข้อเบื้องต้น จึงตามมาด้วยคำว่าอีกอย่างหนึ่ง บาหลีชี้ชัดว่า
อัตถิ กาโยติ วา ปนัสส สติ
ปัจจุปัฏฐิตา โหติ
ยาวเทว ญาณมัตตาย ปฏิสสติมัตตาย
อนิสสิโต จ วิหรติ น จ
กิญจิ โลเก อุปาทิยติ
เอวัมปิ ภิกขเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหรติ
ท่านบอกว่า อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ก็เพียงสักแต่ว่าความรู้ เพียงสักแต่ว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุได้ชื่อว่า เห็นกายในกายอยู่
ไม่ใช่เรามานั่งดูกายในกายของเราแล้วเราจะบรรลุธรรม ไม่ใช่นะ เราจะต้องเห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เห็นว่านี่รูปเกิดขึ้นดังนี้ เรากระทำความดับรูปลงไป
1
เห็นกายในกาย คือ ดับรูปลงไป พอดับแล้ว แม้กระทั่งว่ารูปที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ก็คือรูปกายของเรา เห็นรูปกายของเรานี้ ชี้ชัดให้ดูตรงนี้ว่า อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ หรือรูปทุกรูปที่มีอยู่ ก็เพียงสักแต่ว่าความรู้ คือ เรารู้ว่ามีอยู่เท่านั้นนะ
เพียงสักแต่ว่าอาศัยระลึกเท่านั้น คือ อาศัยอยู่ปฏิบัติธรรมเท่านั้น
เธออันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว คือ เธอกระทำความดับทุกข์ ตามโพธิปักขิยธรรมไปตามลำดับโดยการกระทำฌานแล้ว ตัณหาและทิฏฐิจึงไม่อาศัยอยู่แล้ว
และเธอไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก คือ ไม่ใช่ว่าทุกสิ่งไม่มี มีเหมือนเดิมแต่เราไม่ถือมั่น
1
อาการอย่างนี้เป็นผู้ปฏิบัติตามธรรมโพธิปักขิยธรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่มาดูตรงนี้แล้วมาสงสัยว่าแล้วเกิดขึ้นอย่างไร ไม่ได้
เราจะต้องเป็นผู้รู้ว่าขั้นตอนของการปฏิบัติโพธิปักขิยธรรมนั้นคืออย่างไร
แล้วหลังจากนั้นทุกข้อ กายในกายที่ท่านแสดงแล้วดังนี้ ที่แสดงว่านิกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ทุกข้อจะว่าเหมือนกันหมด
ให้ไปดูที่ข้อสุดท้าย ที่เป็นข้อสุดท้ายเลย คือธรรมในธรรมนะ ดูตรงนี้ ถ้าไล่มาตามลำดับแล้วธรรมในธรรม ข้อนี้หลังจากที่สัมมาสติ แล้วจะมาที่สัมมาสมาธิเป็นไฉน เรามาดูที่ตรงนี้
สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจัดกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี่คือองค์ฌาน 1 เราปฏิบัติแล้ว ปฏิบัติละกาม ละอกุศลธรรมจนบรรลุปีติ มีเรื่องนี้เกิดขึ้น มีการกระทำดังนี้เกิดขึ้น เราทำการละ จนถึงปีติเราจึงเกิดความสุขอยู่ ถ้าเราละวิตกละวิจารไม่ได้ปีติจะไม่เกิด นี่องค์ฌานที่ 1
2
พอมาถึงองค์ฌานที่ 2 ปุ๊บ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีธรรมอันเป็นเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
ตรงนี้นิยามขององค์ฌานที่ 2 เคยได้อธิบายไว้แล้วว่า องค์ฌานที่ 1 ได้ปีติอันเกิดแต่วิเวก คือ ละจนหมด
1
องค์ฌานที่ 2 นี้เราได้นิรามิสัง สุขัง สุขเสมือนปราศจากอามิส อยู่กับสิ่งนั้นหละ แต่เหมือนไม่มีสิ่งนั้น เมื่อก่อนเรามีสิ่งนี้เราจึงจะมีความสุข แต่ตอนนี้เรามีสิ่งนี้แหละ แต่เราละสิ่งนี้จนหมดสิ้นแล้ว เราก็อยู่กับสิ่งนี้แหละ แต่เหมือนไม่มีสิ่งนี้ เป็นนิรามิสัง สุขัง เรากระทำการละออกนะ
เช่น เรามีสามี ภรรยาอยู่ เราก็ละ สามี ภรรยาเราจนเกลี้ยงสิ้นแล้ว แต่ก็อยู่ด้วยกันด้วยความรักเหมือนเดิม
นิรามิสัง สุขัง มีความหมายว่า มีความสุขเหมือนปราศจากอามิส เหมือนไม่มีสิ่งนี้แต่ก็ยังมีอยู่ นี่คือความลึกในธรรมที่ต้องรู้
1
ลำดับต่อไปเธอมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป อาการนี้เป็นอาการที่ 3 แล้ว เป็นผู้บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา สภาวะนี้เป็นสภาวะที่ได้เวทนาอันเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่สุขก็ไม่ใช่ เป็นสภาวะอุเบกขาอยู่
กระทำการปฏิบัติจึงได้ ถ้าไม่ปฏิบัติไม่ได้ องค์ฌานที่ 3 มีคุณสมบัติคือ เป็นผู้ที่ได้เวทนาอันทุกข์ก็ไม่ใช่สุขก็ไม่ใช่ คือสภาวะที่เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่ เราต้องเห็นคุณสมบัติแห่งฌานนี้ ละจนเสร็จแล้ว
1
จนที่สุดเราก็ได้จตุตถฌาน คือ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆเสียดาย มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ
เรากระทำการละก่อนเราจึงจะได้สัมมาสมาธิ องค์ฌานที่ 4 นี่ก็คือ
สันโตหมัสมิ นิพพุโตหมัสมิ อนุปาทาโนหมัสมีติ
เป็นผู้สงบ เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปทานในสิ่งใดๆแล้ว
ซึ่งจะต้องกระทำฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 ตามลำดับ เราจึงจะได้สัมมาสมาธิ
ไม่ใช่นั่งสมาธิแล้วจะได้ฌาน เหมือนคนหลังพุทธกาลมานี้สำคัญผิด ชี้ให้ดูดังนี้
เราจะต่อไปโดยตอนท้ายเหมือนกันกับเบื้องต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายอันนี้เรียกว่าทุขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ข้อสุดท้ายนะข้อที่ 37 ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมที่พิจารณาเห็นธรรมในภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในภายนอกบ้าง
2
ถ้ากายในกายก็จะบอกว่า เห็นกายในภายในบ้าง เห็นกายในภายนอกบ้าง แต่ตอนนี้เป็นข้อสุดท้ายเป็นข้อธรรม แสดงให้ดูโดยย่อแล้วค่อยไปดูรายละเอียด ได้แสดงไว้บ้างแล้ว
เห็นธรรมในภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในและภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดและความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่
อยู่กับสิ่งนี้นะ เห็นธรรมแล้วเห็นทุกข์เกิดขึ้นแล้ว เราทำความดับทุกข์ ตรงนี้หนิ
พิจารณาเห็นธรรมเกิดขึ้น คือ เห็นทุกข์เกิดขึ้น
พิจารณาเห็นธรรมคือความดับทุกข์ เรากระทำการดับด้วยโพธิปักขิยธรรมนะ ไม่ใช่นั่งคิดๆดู พิจารณาเอา นั่งสมาธิดูเอา เดินจงกรมดูเอา เดินธุดงค์ดูเอา นั่งสวดมนต์ดูเอาไม่ได้ ต้องเห็นตรงๆเกิดจากการผัสสะ ในปฏิจจสมุปบาทจริงๆ ทำการดับตรงนั้นจริงๆ
ย่อมอยู่ คือ เราก็อยู่กับสิ่งนั้นหละ ขณะทำฌานเราก็อยู่กับสิ่งนั้น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราก็อยู่ปกติ ยังมีอาหารที่เป็น กวฬีการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เลี้ยงชีวิตเราอยู่ แล้วเราก็ละออกไป
เหมือนที่ท่านพระอานนท์แสดงให้กับภิกษุณีได้ฟัง 4 อย่าง ชีวิตนี้เกิดขึ้นเพราะกายนะ ชีวิตนี้เกิดขึ้นเพราะตัณหานะ ชีวิตนี้เกิดขึ้นเพราะมานะนะ ชีวิตนี้เกิดขึ้นเพราะเมถุนนะ แล้วอาศัยสิ่งเหล่านี้ก็ละเสียนั่นเอง
เราก็อยู่กับสิ่งนั้นหละ โดยไม่ยึดติด จึงมีข้อ
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่
ก็คือ อยู่อย่างนั้น อยู่กับสิ่งนี้หละ ไม่ใช่หนีไปไกล ไม่ใช่เข้าป่าเข้าดงไป หรือชิงทำอะไรให้กับเป็นอัตวินิบาตกรรมตัวเองไม่ใช่
จึงตามมาด้วยคำว่าอีกอย่างหนึ่งสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ตรงนี้ดูดีๆนะ
ธรรมมีอยู่ก็เพียงสักแต่ว่าความรู้ ยาวเทว ญาณมัตตาย ปฏิสสติมัตตาย
ธรรมมีอยู่ก็เพียงสักแต่ว่าความรู้ เรารู้ว่ามีอยู่ ก็เพียงสักแต่ว่าความรู้ว่ามีนะ
เพียงสักแต่ว่าอาศัยระลึกเท่านั้น สิ่งทั้งหมดทั้งมวลที่เป็นทรัพย์ของเราทั้งภายในและภายนอก ที่เป็นเนื้อเป็นตัวเรานี้ เพียงแต่ว่าอาศัยระลึก ปฏิบัติธรรมเพื่อให้สิ้นทุกข์ สิ้นกรรมเท่านั้นนะ โดยข้อธรรมทั้งหมด ทั้งมวลของพระพุทธเจ้า
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว อนิสสิโต จ วิหรติ น จ
ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยเราแล้ว เราก็อยู่กับสิ่งนั้นหละแต่ไม่มีตัณหา แต่ไม่มีทิฏฐิที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ยึดไม่ติดในสิ่งนั้นแล้ว
และ กิญจิ โลเก อุปาทิยติ เราไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลก
คำว่าไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลก หรือไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ไม่ใช่ไม่มี มีแต่ไม่ยึดมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุได้ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
ท่านตรัสให้ภิกษุ เราเป็นผู้มาศึกษาธรรม เราก็ให้เห็นตัวว่าเป็นผู้มารู้ธรรมนี้ด้วยปัญญา ถ้าเมื่อถือบวชก็ค่อยว่าเป็นภิกษุด้วยกันกับท่านไป
ภิกษุได้ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ คือ
เป็นผู้เห็นทุกข์เกิดขึ้นกระทำความดับทุกข์แล้ว จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมนะ ไม่ใช่ไปนั่งดูอยู่ จะชื่อว่าตัวเองเป็นผู้เห็นไม่ได้
จะต้องรู้ว่านี่คือทุกข์เป็นดังนี้ นี่เหตุเกิดคือดังนี้
นี่นิโรธดังนี้ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาหรือโพธิปักขิธรรมที่ห้อมล้อมเอามาปฏิบัติดังนี้ ดับจนหมดด้วยการกระทำฌาน ไปตามลำดับ
ฌาน 1 ดังนี้ ฌาน 2 ดังนี้ ฌาน 3 ดังนี้ ฌาน 4 ดังนี้
จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้ตามปรารถนาได้ โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบากซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งของตน
เป็นที่อยู่อันเป็นสุขในปัจจุบัน ใครทำฌานไม่เป็นไม่เป็นสุข
คงจะให้ความรู้เพียงคร่าวๆได้เท่านี้ รายละเอียดนั้นได้แสดงไว้บ้างแล้ว
ส่วนรายละเอียดจริงๆแนะนำให้ฟังจากพระอาจารย์
ชี้ให้เห็นว่าถ้าไม่เห็นธรรมที่ชื่อว่ามหาสติปัฏฐาน 4 โดยละเอียดแล้ว การจะไปดับปฏิจจสมุปบาทสายดับ ไม่ใช่ฐานะที่จะทำได้
เพราะการดับปฏิจจสมุปบาทสายดับ จะไปดับตรงกายในกาย ดับเวทนาในเวทนา ดับจิตในจิต ดับธรรมในธรรมนี้ ทั้งหมดนี้เป็นธรรมอันเดียวกัน
ทั้งหมดนี้เป็นธรรมอันเดียวกันแต่ธรรมในฐานะกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมนี้ เป็นธรรมที่ฝ่ายที่เราดับทุกข์ สังเกตเห็นไหม๊ว่าขันธ์ 5 มีสัญญาอยู่ แต่สติปัฏฐาน 4 ไม่มีสัญญาเป็นบทพยัญชนะอยู่
เพราะตรงสัญญาในสติปัฏฐาน 4 เป็นตัวเราเลย ตัวเราในฐานะผู้รู้ด้วย ตัวเราเป็นฐานะผู้รู้ เป็นผู้ดับเรื่องนี้
เราเป็นผู้ดูอยู่ เห็นทุกข์เกิดขึ้น เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนาเกิดขึ้นแล้วหนิ ตรงนี้เป็นวิตก
จิตในจิต ธรรมในธรรม เป็นวิจาร
แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นเรื่องของธรรมแต่ละเรื่องเกิดขึ้นแล้ว เราผู้รู้ ตรงสัญญาในสติปัฏฐาน 4 เป็นผู้มีวิชชาแล้ว ไม่ใช่เป็นผู้มีอวิชชานะ ตรงสติปัฏฐาน4 เราเป็นผู้มีวิชาแล้ว เราจึงมาทำความดับตรงนี้
ทั้งหมดนี้เป็นสติปัฏฐาน 4 เบื้องต้นโดยย่อ รายละเอียดได้พูดและเขียนไว้บ้างแล้ว
อ้างอิง
เทศนาสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 16
จตุตถปัณณาสก์ อินทรียวรรคที่ 1ข้อ159 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่21
รายละเอียดในธรรมเพิ่ม
แนวทางสู่โสดาบัน✔

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา