13 มิ.ย. 2020 เวลา 23:30 • สุขภาพ
ใครที่ ชื่นชอบการดื่มกาแฟ … ต้องรู้ !! จากหลักฐานงานวิจัย ’ล่าสุด’ ชิ้นนี้
‘’วิธีชงกาแฟ vs โรคหัวใจและหลอดเลือด’’
เนื่องจากผมเองก็ชื่นชอบการดื่มกาแฟ …… ดื่มแทบทุกวัน ก่อนไปทำงาน กลิ่มหอมหวลเย้ายวนใจ และผมมักจะดื่ม อเมริกาโน่ (Americano) ทุกครั้ง เพราะไม่ชอบการปรุงด้วยนม หรือน้ำตาลหรือครีม ต่างๆ
1
• สำหรับคนที่ สงสัยว่า americano คืออะไร และ ชื่อกาแฟ แต่ละแบบ แตกต่าง มีที่มาที่ไป อย่างไร เชิญอ่านต่อได้ >>
มีคนกล่าว สรรพคุณของกาแฟ กันมายาวนานจนกลายเป็น ความเชื่อ แต่ยังหาหลักฐานสนับสนุนไม่ได้ทั้งหมด หรือหลักฐานบางอย่างไม่หนักแน่พอ จะนำมาทำตามได้
ความรู้เดิมที่เคยทราบ ว่า สาร Caffeine ในกาแฟ ส่งผลเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้
เช่น ตื่นตัว มีสมาธิจดจ่อ อารมณ์ดี ช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
ซึ่งได้มีการทำงานวิจัยเพื่อพิสูจน์ จนหลักฐานน่าเชื่อถือกันมากแล้ว
แต่ล่าสุด…………
จากวารสารชื่อดัง ‘’European Society of Cardiology ESC” ตีพิมพ์ ประมาณ มีนาคม ปี 2020 นี่เอง
1
“Coffee Consumption and Mortality from Cardiovascular disease:Does the brewing method matter?”
แปลเป็นภาษาไทยว่า
‘’การดื่มดาแฟ และ อัตราการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด :วิธีการชงมีผลหรือไม่?’’
ทำไมต้องมีงานวิจัยชิ้นนี้ ?
• ในประเทศโซนยุโรป นั้น สมัยก่อน มีการดื่มกาแฟกัน แพร่หลายและเป็นที่นิยมกันมาก ๆ
• วิธีการชงกาแฟในสมัยก่อน จะนำกาแฟเมล็ดมาบด แล้วใส่ในหม้อ จากนั้นใส่น้ำ แล้วต้มให้ร้อน กิน……… ซึ่งจะได้กลิ่นที่หอมหวล ชวนรับประทานอย่างยิ่ง เราจะเคยได้ยินในชื่อ วิธีชงแบบ ตรุกี คอฟฟี่ (Turkish coffee) ซึ่ง เป็นแบบไม่กรอง
หม้อต้มกาแฟ ‘Turkish Coffee’
• เริ่มมีการเก็บข้อมูล และพบว่าผู้ที่ป่วยหรือตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น มีความสัมพันธ์กับ การดื่มกาแฟ ……และนอกจากนั้นยังพบว่าผู้คนเหล่านี้มี ไขมันในเลือดสูงขึ้นมาก
ซึ่งพบในกาแฟ คือสาร คาเฟสทอล(Carfestol)
โครงสร้างทางเคมี ของสาร Carfestol
*เกร็ดความรู้ :ในเมล็ดกาแฟ 1 เมล็ด ประกอบด้วยสารอื่นๆนอกจาก Caffeine เช่น Cholorogenic acid , phenolic acid (ซึ่งพบว่า มีผลช่วบลดการอักเสบในร่างกายได้), ส่วน Carfestol, kahweol นั้น เป็นไขมันคลอเรสเตอรอลเลว ชนิดหนึ่ง
…… ต่อมีจึงมีการคิดค้น ‘ตัวกรอง’ ‘Coffee Filter’ ขึ้นมา เพื่อหวังว่าจะกรองเอาสาร Carfestol นี้ออกให้ได้มากที่สุด จึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ กาแฟใหม่ ว่า ‘Dripped coffee’ หรือ ‘Filtered coffee’
ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ เครื่องชงกาแฟ หรือกาแฟที่ ซื้อตามร้านที่มีเครื่องชง เช่น All Cafe , Cafe Amazon , Starbuck ล้วนเป็นแบบ Dripped ทั้งนั้น
‘Dripped Coffee’ แบบ ชงเอง ด้วยความใสใจ
จึงมีกลุ่มคนขี้สงสัย ว่า …… แล้วถ้าหากไม่มีสาร Carfestol ในกาแฟละ จะทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดลงมั๊ย?……
และ คนที่ว่านั้น อยู่ที่ประเทศ นอร์เวย์ เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ ปี 1985-2003 จนถึงปี 31 ธค 2013 ………… และ จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย สูงถึง 508,747 คน!!!!!!
เลือกคนที่ช่วง อายุตั้งแต่ 20-79 ปี โดยคนเหล่านี้ไม่เคยมี โรคหัวใจและหลอดเลือดหรือมะเร็ง ก่อนเข้ารับการเก็บข้อมูล
• เป็นงานวิจัยที่มีผลกระทบมากพอสมควรเลยครับ เนื่องด้วยจำนวนตัวอย่าง และระยะเวลที่ติดตามที่นานเพียงพอ คือ มากกว่า 10 ปี
*หมายเหตุ: รายละเอียดวิธีการดูคุณภาพงานวิจัยผมจะไม่ขอลงรายละเอียดนะครับเพราะจะเยอะมาก ……ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้ผ่านการวิจารณ์คุณภาพงานวิจัยมาเรียบร้อยแล้ว
วิธีการก็คือ …… ตามเก็บข้อมูล กันยาวๆๆ เลยครับ สิบกว่าปี
โดย
•เก็บข้อมูลคนที่ทานกาแฟแบบ มีตัวกรอง (filtered coffee, driped coffee)
และ แบบที่ไม่มีตัวกรอง (unfiltered coffee)
•เก็บข้อมูลผู้ที่ไม่ทานกาแฟเลย
เพื่อที่จะ……
•ดูว่าใครเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด บ้าง เมื่อครบเวลาติดตาม
•ดูว่าใครเสียชีวิตบ้าง
โดยการเอาข้อมูลเปรียบเทียบระหว่าง คนที่กินแบบมีตัวกรอง และ ที่ไม่มีตัวกรอง นั่นเอง
•ปริมาณกาแฟที่ดื่มต่อวัน (จำนวนแก้ว)
A breakfast :1 shot of Espresso with 2 cookies
ผลการวิจัยเก็บข้อมูลบ่งบอกว่า……
* งานวิจัยชิ้นนี้แสดงผลออกมาเป็นค่าที่เรียกว่า Harzard Ratio(HR)
แปลง่ายๆ ว่า เลขยิ่งน้อยยิ่งดี …… ยิ่งมากยิ่งอันตรายครับ
ผมจะสรุปและแปลผลมาให้ดังนี้นะครับ
1. ทั้งชาย ทั้งหญิง ที่ดื่มกาแฟ
• คนที่ชงแบบมีตัวกรอง (Filtered coffee) มี อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด , โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ , และโรคเส้นเลือดสมอง ‘ต่ำกว่า’ คนที่ชงกินแบบไม่กรอง (Unfiltered coffee) และเมื่อเทียบกับผู้ไม่ดื่มกาแฟ
2. ในคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี
• ในเพศชาย : มีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในคนที่ชงแบบกรอง(filtered coffee) น้อยกว่า แบบไม่กรอง (unfiltered coffee) เล็กน้อย เมื่อเทียบกับผู้ไม่ดื่มกาแฟ
• ในเพศหญิง : มีอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ระหว่าง กรอง. กับ ไม่กรอง นั้น ไม่แตกต่างกัน เมื่อเทียบกับผู้ไม่ดื่มกาแฟ
3. ในคนที่อายุ ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
• ทั้งในเพศชาย และหญิง : พบว่าการดื่มการแฟแบบมีตัวกรอง(Filtered coffee) นั้นสามารถ ‘ลด’ ทั้งอัตราการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ อีกทั้งยัง ‘ลด’ อัตราการตายได้ด้วย เมื่อเทียบกับผู้ไม่ดื่มกาแฟ
4. ปริมาณกาแฟ เป็น จำนวนแก้ว ต่อวัน
• ผู้ที่ดื่ม กาแฟ 1-4 แก้วต่อวัน มีอัตราการตาย ต่ำที่สุด แล้ว ถ้าดื่มตั้งแต่ 9 แก้วขึ้นไป มีอัตราการตาย สูงที่สุด
• อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ,อัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และ อัตราการเกิดโรคเส้นเลือดสมอง ผล ไม่แตกต่างกัน
*หมายเหตุ : แต่อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถทราบได้ถึง ปริมาณ ขนาดแก้ว นม น้ำตาล ที่ผู้เข้าร่วมดื่มไป ได้เลย
สรุปประเด็นสำคัญ
• กาแฟ แบบกรอง (Filtered Coffee) มีความสัมพันธ์กับ การลดอัตราการตาย.และ การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อเปรียบเทียบกับ กาแฟแบบไม่กรอง(Unfiltered Coffee) และ คนที่ไม่กินกาแฟ
• อัตราการตาย ที่ต่ำกว่าในคนที่กิน กาแฟแบบกรอง(Filtered Coffee) นั้นพบว่ามีความสัมพันธ์ กับ สาร Anti-Oxidant ที่สูง ในเมล็ดกาแฟ เช่น phenolic acid , chlorogenic acid
และ ปริมาณ Carfestol ที่ต่ำ ซึ่งเป็นไขมันคลอเรสเตอรอลนั่นเอง
• ที่สำคัญคือ ประชาการที่ศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ เป็น ชาว นอร์เวย์ ซึ่ง … โดยธรรมชาติแล้วมีความต่างจากชาว เอเชีย จึงเป็นข้อจำกัดในการนำ ผลการวิจัยชิ้นนี้มาใช้ ครับ
……… ทางสายกลาง ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป คงจะดีที่สุดแล้วครับ………
References
• วารสารงานวิจัย European Society of Cardiology 2020 เรื่อง ‘’Coffe consumption and mortality from cardiovascular diseases and total mortality: Does the brewing method matter? “
• ชื่อผู้วิจัยปละผู้ร่วมวิจัย Aage Tverdal , Randi Selmer , Jacqueline M Cohen and Dag S Thelle
บทความน่าสนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Link ด้านล่างนี้ครับ >>>
• ว่าด้วยเรื่อง …… กาแฟ
• อันตรายจาก น้ำแข็งกัด
• ข่าววัคซีน โควิด
• พระพุทธเจ้าบนก้อนหิน
• สายปีนเขา ต้องรู้
• มันสำปะหลัง มีพิษ
• “The Force” … หรือ ‘’พลัง’’ จะมีอยู่จริง ?
• ทารุณกรรม …… หรือแค่ป่วยทางจิต ?•!
โฆษณา